ปี 2015
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2551 มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 17 (1) ในการจัดทำนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับชาติ รวมถึงสนับสนุนให้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติองค์กรหรือบุคคลที่มีผลงานดีเด่น เป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดสังคมฐานความรู้และการพัฒนาชุมชนและประเทศอย่าง เหมาะสมและมีความสมดุล ตามที่ปรากฏใน มาตรา 5 (10) ที่ผ่านมา สวทน. ได้จัดทำนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2564) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555

เพื่อสนับสนุนให้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติองค์กรหรือบุคคลที่มีผลงานดีเด่น เป็นเลิศทาง วทน. ตลอดจนการเสริมสร้างและผลักดันให้ภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการค้าและบริการ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จนก่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรม ตลอดจนให้มีการใช้วิทยาศาสาตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในชุมชนให้มากยิ่งขึ้น ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2551 และก่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 ของนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2564) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำนโยบายได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแนว นโยบายดังกล่าว จึงได้จัดให้มีกิจกรรม STI Thailand Award เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเชิดชูผลงาน ความตระหนัก สร้างคุณค่าและการสร้างเครือข่ายในการพัฒนางาน วทน. ในประเทศไทยทั้งในระดับวิสาหกิจ ชุมชน และประชาชน

ในปีงบประมาณ พ.ศ 2558 สวทน. มีแผนดำเนินงานโครงการ STI Thailand Awards ครั้งที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหลักในภูมิภาค ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่มีพลวัตสูง ตลอดจนมีเครือข่ายการดำเนินงานที่หลากหลาย
  1. เพื่อเชิดชูเกียรติหน่วยงาน/บุคคลตัวอย่างให้สังคมเห็นถึงบทบาทของ วทน. ที่มีต่อการพัฒนาประเทศไทย
  2. เพื่อสร้างความตระหนัก ตลอดจนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์บทบาทด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคสังคม ภาคประชาชน เยาวชน นักเรียนและนักศึกษา ให้มีความตื่นตัวและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ต่อการพัฒนาประเทศ
  3. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ งาน วทน. สู่สาธารณชน

1.1 วิสาหกิจของประเทศไทยในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจบริการทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งที่เป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นนิติบุคคลทั่วประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.1.1 วิสาหกิจขนาดใหญ่
วิสาหกิจที่มี การจ้างงานมากกว่า 200 คน สำหรับภาคการผลิตและบริการ และการจ้างงานมากกว่า 50 คน สำหรับภาคการค้า หรือมีมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรไม่ รวมที่ดินมากกว่า200 ล้านบาท สำหรับภาคการผลิตและภาคบริการ และมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินมากกว่า 100 ล้านบาท สำหรับภาคการค้า (พ.ร.บ. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543, กระทรวงอุตสาหกรรม

1.1.2 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
วิสาหกิจ ที่มีการจ้างงานน้อยกว่า 200 คน สำหรับภาคการผลิตและบริการ และการจ้างงานน้อยกว่า 50 คน สำหรับภาคการค้า หรือมีมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรไม่ รวมที่ดินน้อยกว่า 200 ล้านบาท สำหรับภาคการผลิตและภาคบริการ และมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินน้อยกว่า 100 ล้านบาท สำหรับภาคการค้า (พ.ร.บ. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543, กระทรวงอุตสาหกรรม)

1.1.3 วิสาหกิจชุมชน
กิจการ ของชุมชนที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่นๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน (พ.ร.บ. ส่ง เสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548, กรมส่งเสริมการเกษตร) ทั้งนี้ให้รวมถึง สหกรณ์ โดยความหมายว่าคณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทาง เศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ 2542 (พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542, กรมส่ง เสริมสหกรณ์)
 

1.2 ประชาชนที่มีการนำวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน ทั้งในมิติของ สังคม เศรษฐกิจ พลังงานและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ได้แก่

1.2.1 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน หมายถึง นักวิทยาศาสตร์ชาวบ้าน และ/หรือ ปราชญ์วิทยาศาสตร์ชาวบ้าน และ/หรือ ผู้มีปัญญารอบรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ชาวบ้านของชุมชน โดยจะต้องเป็นผู้มีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชาวบ้านและเป็นที่ประจักษ์ของ คนในชุมชน มีผลงานในการส่งเสริม และ/หรือ สนับสนุน และ/หรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน วทน. ให้กับชุมชน และเป็นผู้มีถิ่นฐานอยู่อาศัยในชุมชนที่นำองค์ความรู้ไปใช้ (ทั้งนี้ให้เป็นดุลพินิจของคณะ กรรมการฯ ในการตัดสินสิทธิ์ในการเข้าร่วมประกวดเป็นที่สิ้นสุด)

1.3 นักเรียนและนักศึกษา

1.3.1 นักเรียนและนักศึกษา หมายถึง ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. และนิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา รวมถึงผู้ที่ศึกษาอยู่ใน สถาบันการศึกษาที่มีระดับเทียบเท่า (ทั้งนี้ให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการฯ ในการตัดสินสิทธิ์ในการเข้าร่วมประกวดเป็นที่สิ้นสุด)

ผู้เข้าร่วมประกวด แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

  1. วิสาหกิจขนาดใหญ่
  2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. วิสาหกิจชุมชน
  4. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน
  5. นักเรียน นักศึกษา
 
 
1. ผู้เข้าร่วมประกวดในข้อ 1-4 ต้องมีการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และ/หรือ มีผลงานด้านการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจหรือชุมชน (แนวคิด สิ่งประดิษฐ์และการออกแบบ)
 
2. การสมัคร ให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกวดดำเนินการส่งใบสมัคร พร้อมรายละเอียดผลงาน และคลิปวิดีโอแนะนำผลงานโดยสังเขปความยาวไม่เกิน 3 นาที (หากมี) เพื่อการประกวดกับผู้ประสานงานการจัดงานตามพื้นที่ภูมิลำเนาของผู้เข้าร่วมประกวด ดังนี้
 
กลุ่มจังหวัดตามภูมิลำเนาของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด สถานที่/ที่อยู่ในการจัดส่ง ผู้ประสานงานการจัดงาน
ภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี) อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
นางสาวศรินทร์ทิพย์ ธนัคฆเศรณี
โทร. 053-942-088-91 ต่อ 208
มือถือ 098-265-5425
E-mail:sarinthip@step.cmu.ac.th
ภาคกลางและตะวันตก (กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
รศ.ดร.สันติรัฐ นันสะอาง
โทร. 02-4708554-6
มือถือ 081-554-3617
E-mail:santirat.nan@kmutt.ac.th
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หนองคาย บึงกาฬ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
อาจารย์ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์
โทร. 043-202-401 ต่อ 125
มือถือ 081-661-4770
E-mail: vijitnop@hotmail.com
ภาคใต้ (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง ภูเก็ต) อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
นายภาคภูมิ ยอดปรีดา
โทร. 074-2899335
มือถือ 081-7388715
E-mail:bung_bank@hotmail.com
ภาคตะวันออก (ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
169 ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
ดร.นรวิทย์ ไกรนรา
โทร. 038-103066
มือถือ 086-610-0525
E-mail: norwit@buu.ac.th


3. ขั้นตอนการประกวด - ให้ผู้เข้าร่วมประกวดดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ตามขั้นตอนการประกวด ดังนี้
 
ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการ เอกสารสำคัญ
ขั้นตอนที่ 1: ขั้นตอนการสมัคร ให้ผู้เข้าร่วมประกวดดำเนินการส่งใบสมัครการเข้าร่วมประกวด (สามารถ download จาก www.sti.or.th/sti หรือผู้ประสานงานของพื้นที่ตามรายละเอียดข้อ 4.3) 1. ใบสมัคร - เอกสาร ว1 สำหรับผู้สมัครประเภทวิสาหกิจ - เอกสาร ช1 สำหรับผู้สมัครประเภทบุคคลหรือกลุ่มบุคคล - เอกสาร ช2 สำหรับผู้สมัครประเภทนักเรียน/นักศึกษา
ขั้นตอนที่ 2: ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารและพิจารณาผลงานตามเอกสารประกอบการรับสมัคร คณะกรรมการฯ ในพื้นที่ดำเนินการตรวจสอบเอกสารและพิจารณาผลงานของผู้เข้าประกวด ตามเอกสารประกอบการสมัคร  
ขั้นตอนที่ 3: ขั้นตอนการประกาศผลการตัดสินคัดเลือกรอบที่ 1 คณะกรรมการฯ ประกาศผลการคัดเลือกรอบที่1 ผ่านเว็บไซด์ www.sti.or.th/sti และผู้ประสาน งานของพื้นที่ 4.3) 1. ผลการพิจารณาของคณะกรรมการรายพื้นที่
ขั้นตอนที่ 4: ขั้นตอนการส่งเอกสารเพิ่มเติมของผู้ผ่านเข้ารอบเพื่อการ พิจารณาของคณะกรรมการฯ ให้ผู้เข้าร่วมประกวดดำเนินการส่งเอกสารเพิ่มเติม โดยการนำเสนอผลงานในรูปแบบการนำเสนอสรุปผลงาน (Power Point Presentation) เพื่อการพิจารณาของคณะกรรมการฯ (สามารถ download จาก www.sti.or.th/sti และจากผู้ประสานงานของพื้นที่ 4.3) 1. เอกสารรูปแบบการนำเสนอผลงานผู้ผ่านเข้ารอบที่ 2
ขั้นตอนที่ 5: ขั้นตอนการพิจารณาเอกสารเพื่อคัดเลือกผู้เหมาะสมเข้าเสนอผลงาน 1. คณะกรรมการพิจารณา เอกสารนำเสนอผลงานของผู้สมัคร 2. คณะกรรมการแจ้งผลการพิจารณาให้กับผู้เข้ารอบเพื่อนำมาเสนอผลงาน  
ขั้นตอนที่ 6: ขั้นตอนการนำเสนอผลงานโดยผู้ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 1 คณะกรรมการฯ ในพื้นที่ดำเนินการพิจารณาผลงานของผู้เข้าประกวด โดยการนำเสนอของผู้เข้าร่วมการประกวด และ/หรือ ผู้แทน  
ขั้นตอนที่ 7 : ขั้นตอนการประกาศผลการพิจารณาตัดสินรางวัลระดับพื้นที่ คณะกรรมการฯ ประกาศผลการพิจารณาตัดสินรางวัลระดับพื้นที่ผ่านเว็บไซด์ www.sti.or.th/sti 1. ผลการพิจารณาตัดสินรางวัลระดับพื้นที่
ขั้นตอนที่ 8: ขั้นตอนการนำเสนอผลงานเพื่อการพิจารณาตัดสินรางวัลระดับประเทศ คณะกรรมการฯ ระดับประเทศดำเนินการพิจารณาผลงานของผู้ชนะเลิศในระดับพื้นที่ โดยการนำเสนอของผู้เข้าร่วมการประกวด และ/หรือ ผู้แทน (ซึ่งอาจมีการประชุมพิจารณามากกว่า 1 ครั้ง)  
ขั้นตอนที่ 9: ขั้นตอนการประกาศผลการพิจารณาตัดสินรางวัลระดับประเทศ คณะกรรมการฯ ประกาศผลการตัดสินรางวัลระดับประเทศ ผ่านเว็บไซด์ www.sti.or.th/sti 1. ผลการพิจารณาตัดสินรางวัลระดับประเทศ
ขั้นตอนที่ 10 : ขั้นตอนการมอบรางวัลฯ มอบรางวัล (โล่รางวัล และใบประกาศนียบัตร) แก่ผู้ได้รับรางวัลระดับประเทศในงานปีแห่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ติดตามรายละเอียดจาก www.sti.or.th/sti 1. ผลการพิจารณารอบสุดท้ายของคณะกรรมการระดับประเทศ
หมายเหตุ : ผลการพิจารณาของคณะกรรมระดับประเทศถือเป็นที่สุด

4. กฎกติกาการเข้าร่วมประกวดให้ผู้เข้าร่วมประกวดดำเนินการตามข้อกำหนด ดังนี้ ·
  • ผู้เข้าร่วมประกวดต้องนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการฯ ตามเวลาที่กำหนด เพื่อให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการตามขั้นตอน และต้องอำนวยความสะดวกหากมีข้อซักถาม
  • ผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดของผู้เข้าร่วมประกวดต้องไม่เป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบของผู้อื่น
  • ผู้เข้าร่วมประกวดต้องแสดงผลงานต่อคณะกรรมการฯ หากได้รับการร้องขอ พร้อมจัดแสดงชิ้นงานในวันงานมอบรางวัล
  • ดำเนินการอื่นๆ ตามกฎกติกาที่คณะกรรมการฯ ระดับประเทศประกาศ
  • ใบสมัครเข้าร่วมประกวดประเภทวิสาหกิจ (ว.1)
  • ใบสมัครเข้าร่วมประกวดประเภทบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน (ช.1)
  • ใบสมัครประเภทนักเรียน นักศึกษา (ช.2)
image ใบสมัครเข้าร่วมประกวดประเภทวิสาหกิจ (ว.1) ใบสมัครเข้าร่วมประกวดประเภทวิสาหกิจ (ว.1)
image ใบสมัครเข้าร่วมประกวดประเภทบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน (ช.1) ใบสมัครเข้าร่วมประกวดประเภทบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน (ช.1)
image ใบสมัครประเภทนักเรียน นักศึกษา (ช.2) ใบสมัครประเภทนักเรียน นักศึกษา (ช.2)

ผู้ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการฯ ทุกประเภทจะได้รับรางวัลซึ่งประกอบด้วยโล่รางวัลและประกาศนียบัตรเพื่อการ เชิดชูเกียรติจากนายกรัฐมนตรี โดยแบ่งเป็นรางวัลระดับประเทศและรางวัลระดับพื้นที่ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

รางวัลระดับประเทศ

คณะกรรมการจัดงานและพิจารณาตัดสินรางวัล STI Thailand Awards 2015 ในระดับประเทศ จะพิจารณาจากการนำเสนอผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับพื้นที่ ต่อคณะกรรมการจัดงานและพิจารณาตัดสินรางวัล STI Thailand Awards 2015 ณ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ กรุงเทพฯ รางวัลระดับประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 5 รางวัล ดังนี้
 
ประเภทรางวัล รางวัล (รวม 15 รางวัล)
รางวัลชนะเลิศ
วทน. เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ
  1.  วิสาหกิจขนาดใหญ่
  2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. วิสาหกิจชุมชน

วทน. เพื่อการพัฒนาชุมชน
  1. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน
  2. นักเรียน นักศึกษา
  • โล่รางวัลระดับประเทศพร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 5 รางวัล ในทุกประเภทรางวัล
  • เฉพาะประเภท นักเรียน นักศึกษา มีเงินรางวัลเพิ่มเติม จำนวน 30,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

วทน. เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ
  1. วิสาหกิจขนาดใหญ่
  2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. วิสาหกิจชุมชน

วทน. เพื่อการพัฒนาชุมชน
  1. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน
  2. นักเรียน นักศึกษา
  • โล่รางวัลระดับประเทศพร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 5 รางวัล
  • เฉพาะประเภท นักเรียน นักศึกษา มีเงินรางวัลเพิ่มเติม จำนวน 20,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
วทน. เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ
  1. วิสาหกิจขนาดใหญ่
  2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. วิสาหกิจชุมชน

วทน. เพื่อการพัฒนาชุมชน
  1. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน
  2. นักเรียน นักศึกษา
  • โล่รางวัลระดับประเทศพร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 5 รางวัล
  • เฉพาะประเภท นักเรียน นักศึกษา มีเงินรางวัลเพิ่มเติม จำนวน 15,000 บาท

ระดับพื้นที่
พิจารณาตัดสินรางวัลโดยคณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล STI Thailand Awards 2015 ระดับพื้นที่ ประกอบด้วยคณะกรรมการฯ จำนวน 5 คณะ ดังนี้
1) คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล STI Thailand Awards 2015 พื้นที่ภาคเหนือ
2) คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล STI Thailand Awards 2015 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3) คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล STI Thailand Awards 2015 พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
4) คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล STI Thailand Awards 2015 พื้นที่ภาคตะวันออก
5) คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล STI Thailand Awards 2015 พื้นที่ภาคใต้

 
รางวัล STI Thailand Awards 2015 ระดับพื้นที่ มีจำนวนทั้งสิ้น 150 รางวัล ดังนี้
 
ประเภทรางวัล รางวัล
(รวม 150 รางวัล)
รางวัลชนะเลิศ
วทน. เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ
  1. วิสาหกิจขนาดใหญ่
  2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. วิสาหกิจชุมชน

วทน. เพื่อการพัฒนาชุมชน
  1. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน
  2. นักเรียน นักศึกษา
  • โล่รางวัลและประกาศนียบัตร 5 พื้นที่ๆ ละ 5 รางวัล (ประเภทละ 1 รางวัล รวม 25 รางวัล)
  • เฉพาะรางวัล ประเภท นักเรียน นักศึกษา มีเงินรางวัลเพิ่มเติม จำนวน 20,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
วทน. เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ
  1. วิสาหกิจขนาดใหญ่
  2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. วิสาหกิจชุมชน

วทน. เพื่อการพัฒนาชุมชน
  1. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน
  2. นักเรียน นักศึกษา
  • โล่รางวัลและประกาศนียบัตร 5 พื้นที่ๆ ละ 5 รางวัล (ประเภทละ 1 รางวัล รวม 25 รางวัล)
  • เฉพาะรางวัล ประเภท นักเรียน นักศึกษา มีเงินรางวัลเพิ่มเติม จำนวน 15,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
วทน. เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ
  1. วิสาหกิจขนาดใหญ่
  2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. วิสาหกิจชุมชน

วทน. เพื่อการพัฒนาชุมชน
  1. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน
  2. นักเรียน นักศึกษา
  • โล่รางวัลและประกาศนียบัตร 5 พื้นที่ๆ ละ 5 รางวัล (ประเภทละ 1 รางวัล รวม 25 รางวัล)
  • เฉพาะรางวัล ประเภท นักเรียน นักศึกษา มีเงินรางวัลเพิ่มเติม จำนวน 10,000 บาท
รางวัลชมเชย
วทน. เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ
  1. วิสาหกิจขนาดใหญ่
  2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. วิสาหกิจชุมชน

วทน. เพื่อการพัฒนาชุมชน
  1. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน
  2. นักเรียน นักศึกษา
  • โล่รางวัลและประกาศนียบัตร 5 พื้นที่ๆ ละ 15 รางวัล (ประเภทละ 3 รางวัล รวม 75 รางวัล) 
  • เฉพาะรางวัล ประเภท นักเรียน นักศึกษา มีเงินรางวัลเพิ่มเติม จำนวน 5,000 บาท
เกณฑ์การพิจารณารางวัล

การพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมประกวดประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1: พิจารณาความถูกต้องของข้อมูลของผู้เข้าร่วมประกวด จากรายละเอียดใบสมัคร และข้อมูลเพิ่มเติมตามเอกสารประกอบการสมัคร

ขั้นตอนที่ 2: นำผลการพิจารณาจากขั้นตอนที่ 1 มาดำเนินการพิจารณาตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลในประเภทวิสาหกิจขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
 
เกณฑ์เบื้องต้นสำหรับวิสาหกิจขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม น้ำหนักคะแนน
นโยบายการให้ความสำคัญกับการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ร้อยละ 25
การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนางานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ร้อยละ 25
ผลงานการวิจัยและพัฒนาและการพัฒนาต่อยอด ร้อยละ 30
การพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ร้อยละ 20

รายละเอียดเกณฑ์การพิจารณารางวัลประเภทวิสาหกิจขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
 
รางวัล STI Thailand Awards 2015
ประเภทวิสาหกิจขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
เกณฑ์ ประเด็น ขอบเขต
เกณฑ์ที่ 1 พิจารณาร้อยละ 25 นโยบายการให้ความสำคัญกับการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ (การมีแผนงาน งบประมาณ และกิจกรรม) 1. พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขัน องค์กรได้ให้ความสำคัญกับนโยบายและการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลงานดังกล่าวไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากน้อยเพียงใด พิจารณารวมไปถึงองค์กรมีจำนวนผลงานหรือกระบวนการที่คิดค้น ประดิษฐ์ หรือผลิตขึ้นมาในองค์กรนั้น ทั้งผลงานด้านการวิจัยและพัฒนา หรือผลงานด้านกิจกรรมนวัตกรรม สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากน้อยเพียงใด
เกณฑ์ที่ 2 พิจารณาร้อยละ 25 การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนางานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2. พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขัน โดยพิจารณาจากการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อพัฒนาผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ว่ามีจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา และการสร้างผลงานทางด้านนวัตกรรม ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา และกิจกรรมทางด้านนวัตกรรมที่มีต่อตัวผลงานนั้นๆ พิจารณารวมไปถึงจากการให้ความสำคัญอย่างจริงจังขององค์กรต่อการวิจัยและพัฒนา และกิจกรรมทางด้านนวัตกรรม โดยพิจารณาจากสัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาต่อยอดขาย และสัดส่วนการลงทุนด้านกิจกรรมนวัตกรรมต่อยอดขาย ว่ามีมากน้อยเพียงใด
เกณฑ์ที่ 3 พิจารณาร้อยละ 30 ผลงานการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาต่อยอด (ระบุชิ้นงาน และผลสัมฤทธิ์) 3. พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันเป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่ โดยตัวผลงานที่ส่งเข้าประกวดมีส่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศไม่ว่าด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน สุขภาวะ องค์ความรู้ของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น การกีดกันทางการค้า และการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา และ/หรือการพัฒนาต่อยอด และ/หรือกิจกรรมทางด้านการพัฒนางานนวัตกรรมขององค์กร โดยพิจารณาจากจำนวนผลงาน ชิ้นงาน หรือกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์กร เพื่อปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม
เกณฑ์ที่ 4 พิจารณาร้อยละ 20 การพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ 4. พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น เป็นผลงานที่มีการพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ทั้งตัวผลิตภัณฑ์/บริการ/กระบวนการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในการดำเนินธุรกิจ หรือเกี่ยวข้องกับแก้ไขปัญหาคุณภาพ มาตรฐานที่สอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

2. หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลในประเภทวิสาหกิจชุมชน
เกณฑ์เบื้องต้นสำหรับวิสาหกิจชุมชน น้ำหนักคะแนน
นโยบายการให้ความสำคัญกับการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ร้อยละ 25
การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนางานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ร้อยละ 25
ผลงานการวิจัยและพัฒนาและการพัฒนาต่อยอด ร้อยละ 30
การพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ร้อยละ 20

รายละเอียดเกณฑ์การพิจารณารางวัลประเภทวิสาหกิจชุมชน
 
รางวัล STI Thailand Awards 2015
ประเภทวิสาหกิจชุมชน
เกณฑ์ ประเด็น ขอบเขต
เกณฑ์ที่ 1 พิจารณาร้อยละ 25 นโยบายการให้ความสำคัญกับการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ (ทรัพย์สินทางปัญญาระดับชุมชน และการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ของชุมชน) 1. พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขัน วิสาหกิจชุมชนได้ให้ความสำคัญกับการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาและการนำผลงานดังกล่าวไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากน้อยเพียงใดพิจารณารวมถึงผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น สามารถสร้างหรือก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนและเกิดการสร้างความตระหนักในด้านการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำรงชีวิต
เกณฑ์ที่ 2 พิจารณาร้อยละ 25 การบริหารจัดการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2. พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันเป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่ โดยตัวผลงานที่ส่งเข้าประกวดมีส่วนในการแก้ไขปัญหาของชุมชนไม่ว่าด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน สุขภาวะ องค์ความรู้ของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น หรือการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน โดยมุ่งเน้นการพึ่งพิงตนเอง รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพิจารณาจากการมีแผนชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสามัคคี การรวมกลุ่ม การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินการต่างๆ
เกณฑ์ที่ 3 พิจารณาร้อยละ 30 ผลงานการวิจัยและพัฒนาและการพัฒนาต่อยอด (การนำ วทน. มาใช้เพื่อการพัฒนากระบวนการหรือผลิตภัณฑ์) 3. พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น สร้างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนเมื่อมีการนำผลงานดังกล่าว อันเป็นผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม หรือเป็นการส่งเสริมการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการผลิตเพื่อการอุปโภคหรือบริโภคในชุมชน ทั้งมีเหลือยังสามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับชุมชนได้
เกณฑ์ที่ 4 พิจารณาร้อยละ 20 การพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ 4. พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น เป็นผลงานที่มีการพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ทั้งตัวผลิตภัณฑ์/บริการ/กระบวนการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในการดำเนินธุรกิจ หรือเกี่ยวข้องกับแก้ไขปัญหาคุณภาพ มาตรฐานที่สอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

 

3.หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลในประเภทวิสาหกิจชุมชน

เกณฑ์เบื้องต้นสำหรับประเภทการพัฒนาชุมชน (บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน) น้ำหนัก
คะแนน
วิสัยทัศน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน การมองเห็นปัญหาของชุมชน และการแก้ไขปัญหาด้วย วทน

ร้อยละ 20

มีการนำ วทน. ไปใช้ในการแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการของชุมชน

ร้อยละ 30

มีผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงาน

ร้อยละ 30

มีการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่น

ร้อยละ 20

 
รายละเอียดเกณฑ์การพิจารณารางวัลประเภทการพัฒนาชุมชน (บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน)
 

รางวัล STI Thailand Awards 2015
ประเภทการพัฒนาชุมชน (บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชน)

เกณฑ์

ประเด็น

ขอบเขต

เกณฑ์ที่ 1 พิจารณาร้อยละ20

วิสัยทัศน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล การมองเห็นปัญหาของชุมชน และการแก้ไขปัญหาด้วย วทน.

1. พิจารณา บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชนที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ในการนำพาชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีความเข้าใจปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างลึกซึ้ง ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พลังงาน สุขภาวะ องค์ความรู้ของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น หรือการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน โดยมุ่งเน้นการพึ่งพิงตนเอง

เกณฑ์ที่ 2พิจารณาร้อยละ30

มีการนำ วทน. ไปใช้ในการแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการของชุมชน

2. พิจารณา บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชนที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น เป็นผู้ที่มีทักษะในการพัฒนาชุมชน มีกระบวนการสะสมความรู้ และสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่เป็นไปได้และเหมาะสมมาใช้เพื่อการแก้ไข ที่ตรงกับความต้องการของชุมชน โดยได้รับการตอบสนองและยอมรับของคนในชุมชน

เกณฑ์ที่ 3

พิจารณาร้อยละ30

มีผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงาน

3. พิจารณา ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากผลการดำเนินงาน อันส่งผลทำให้สังคม ชุมชน ท้องถิ่น มีความเข้มแข็ง ทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พลังงาน สุขภาวะ องค์ความรู้ของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น รวมถึงพิจารณาความเป็นไปได้ในการดำเนินการ และโอกาสในการขยายผลทางเทคนิค วิธีการในการไปใช้ในวงกว้างอย่างยั่งยืน

เกณฑ์ที่ 4

พิจารณาร้อยละ20

มีการดำเนินงานร่วมของชุมชนรวมถึงกับหน่วยงานอื่น

4. พิจารณา กระบวนการและผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วม อีกทั้งมีการประสานงาน ร่วมดำเนินการกับหน่วยงาน องค์กรภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในพื้นที่หรือในระดับประเทศ


4.หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลในประเภทการพัฒนาชุมชน (นักเรียน นักศึกษา)
เกณฑ์เบื้องต้นสำหรับประเภทการพัฒนาชุมชน (นักเรียน นักศึกษา) น้ำหนักคะแนน
เนื้อหาของคลิปวีดีโอ
ร้อยละ 40
ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอ
ร้อยละ 20
ความคมชัด สวยงามและคุณภาพของคลิปวีดีโอ
ร้อยละ 20
ความนิยมของประชาชน
ร้อยละ 20

รายละเอียดเกณฑ์การพิจารณารางวัลประเภทนักเรียน นักศึกษา
 
รางวัล STI Thailand Awards 2015
ประเภทการพัฒนาชุมชน (นักเรียน นักศึกษา)
เกณฑ์ ประเด็น ขอบเขต
เกณฑ์ที่ 1 พิจารณาร้อยละ 40 เนื้อหาของคลิปวีดีโอ 1. พิจารณาจากผลงานที่ส่งเข้าประกวดนั้น เนื้อหามีความถูกต้องตามหลักวิชาการและตรงตามหัวข้อที่กำหนดไว้ การเดินเรื่องหรือการนำเสนอเนื้อหามีความกลมกลืน ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจของบทบาทของ วทน. ในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น
เกณฑ์ที่ 2 พิจารณาร้อยละ 20 ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอ 2. พิจารณาจากผลงานที่ส่งเข้าประกวดนั้น มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอ มีความโดดเด่นแปลกใหม่ หรือมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่ลอกเลียนแบบ ผลงานมีการเลือกใช้ภาพกราฟิกและสื่อประสมอื่นๆ ที่เหมาะสมกับเนื้อหา และทำให้เกิดความสนุก ดึงดูดผู้ชมให้มีความสนใจ
เกณฑ์ที่ 3 พิจารณาร้อยละ 20 ความคมชัด สวยงามและคุณภาพของคลิปวีดีโอ 3. พิจารณาจากผลงานที่ส่งเข้าประกวดนั้น มีความคมชัด มีคุณภาพทั้งเสียงและภาพ พร้อมทั้งมีความน่าสนใจของภาพและสื่อที่ใช้ประกอบ
เกณฑ์ที่ 4 พิจารณาร้อยละ 20 ความนิยมของประชาชน 4. พิจารณาจากยอดผู้ชม ภายในระยะเวลาที่กำหนด


ขั้นตอนที่ 3: นำผลการพิจารณาจากขั้นตอนที่ 2 ในทุกประเภท ที่ได้คะแนนสูงสุด มาดำเนินการนำเสนอผลงานพิจารณาตามเกณฑ์ เพื่อตัดสินรางวัลให้เหลือ 3 อันดับ

5. การพิจารณาผู้ผ่านเข้ารอบระดับประเทศ
         การพิจาณารางวัลระดับประเทศ ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดงานและพิจารณาตัดสินรางวัล ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกรางวัลจากผู้ชนะเลิศในระดับพื้นที่ โดยมีกรอบการพิจารณาดังต่อไปนี้
1. การนำเสนอแนวคิดของผลงาน พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ในการใช้กิจกรรมนวัตกรรม และการวิจัยและพัฒนา ไปสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
2. ความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัฒน์ (การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาไปสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้เป็นระบบ การเปลี่ยนแปลงสังคมผู้สูงอายุ การกีดกันทางการค้า มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี)
3. ความสามารถในการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและแพร่หลาย
4. ความสามารถในการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ (ท้องถิ่น)
5. รูปแบบการนำเสนอ
ลิขสิทธิ์และเงื่อนไขสำหรับผลงานที่ส่งเข้าประกวด (ประเภทนักเรียน นักศึกษา)
  1. ไม่อนุญาตให้ใช้เพลง ภาพถ่าย ภาพวาดและภาพเคลื่อนไหวที่มีลิขสิทธิ์ สามารถใช้เพียงเพลงประกอบที่ไม่มีลิขสิทธิ์ หรือจัดทำขึ้นมาเองเท่านั้น ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ เพลงและภาพเคลื่อนไหวที่มีลิขสิทธิ์ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน และจะต้องระบุชื่อเพลง ผู้ประพันธ์และชื่อนักร้องไว้ท้ายเรื่อง (เครดิตคลิปตอนจบ) อย่างชัดเจน
  2. ในกรณีที่มีการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อันเกิดจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว
  3. สวทน. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ร่วมกับผู้ส่งผลงานเข้าประกวด โดยมีสิทธิ์นำผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดไปผลิต เผยแพร่ จัดฉาย หรือทำการประชาสัมพันธ์โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของผลงาน
  4. สวทน. ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด และเงื่อนไขต่างๆ ของการประกวด โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการนำเสนอ
  • เอกสารนำเสนอ SMEs-LEs
  • เอกสารนำเสนอวิสาหกิจชุมชน
  • เอกสารนำเสนอบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
  • เอกสารนำเสนอนักเรียน นักศึกษา
image เอกสารนำเสนอ SMEs-LEs เอกสารนำเสนอ SMEs-LEs
image เอกสารนำเสนอวิสาหกิจชุมชน เอกสารนำเสนอวิสาหกิจชุมชน