ปี 2012

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ได้วางแนวนโยบายในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ไว้ 10 ข้อโดยหนึ่งในนั้นได้กำหนดไว้ว่าต้องสนับสนุนให้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติองค์กรหรือบุคคลที่มีผลงานดีเด่นเป็นเลิศทาง วทน. และเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนา วทน. ให้เกิดสังคมฐานความรู้และการพัฒนาชุมชนและประเทศอย่างเหมาะสมและมีความสมดุล

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำนโยบายได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในแนวโนบายดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการจัดกิจกรรม STI Thailand Award (Green Carpet) ขึ้นเป็นประจำทุกปี ภายใต้การจัดการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา อันจะเป็นการเชิดชูผลงาน ความตระหนัก สร้างคุฤณค่า และการสร้างเครือข่าย ในการพัฒนางาน วทน.ในประเทศไทยทั้งในระดับ วิสาหกิจ ชุมชน และประชาชน ต่อไป

“ปรับปรุงข้อมูลวันที่ 13 มิถุนายน 2554”
  • เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในการพัฒนางาน วทน.ในรูปแบบต่างๆ เช่น ข้อมูล การจับคู่ธุรกิจ การพัฒนาช่องทางทางการตลาด วทน. ฯลฯ
  • เพื่อสร้างความตระหนัก การเชิดชูเกียรติ หน่วยงาน/บุคคลตัวอย่างให้สังคมเห็นถึงบทบาทของ งาน วทน.ที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
  • เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ งาน วทน. สู่สาธารณชน
กลุ่มเป้าหมายของการจัดงาน STI Thailand Award (Green Carpet) 2012
1. วิสาหกิจของประเทศไทยในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจบริการทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ทั้งที่เป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นนิติบุคคลทั่วประเทศ ที่สนับสนุนการดำเนินงานของประเทศด้านการจัดทำข้อมูลการสำรวจงบการวิจัยและพัฒนาที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการระดับชาติ (ทั้งนี้หากเป็นวิสาหกิจที่ไม่เคยสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศด้านการจัดทำข้อมูลการสำรวจงบวิจัยและพัฒนาที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับมอบหมาย ให้ดำเนินการกรอกรายละเอียดเอกสาร ก1 (เอกสารข้อมูลการลงทุนและค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนา และกิจกรรมนวัตกรรม ประเภทอุตสาหกรรม) และ ก2 (เอกสารการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทประชาชนและชุมชน) แนบพร้อมใบสมัครเพิ่มเติม และให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการฯ ในการตัดสินสิทธิในการเข้าร่วมประกวดเป็นที่สิ้นสุด)

1.1 กลุ่มวิสาหกิจขนาดใหญ่ (LEs)
        วิสาหกิจที่มีการจ้างงานมากกว่า 200 คน สำหรับภาคการผลิตและบริการ และการจ้างงานมากกว่า 50 คน สำหรับภาคการค้า หรือมีมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินมากกว่า 200 ล้านบาท สำหรับภาคการผลิตและภาคบริการ และมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินมากกว่า 100 ล้านบาท สำหรับภาคการค้า (พ.ร.บ. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543, กระทรวงอุตสาหกรรม)

1.2 กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
       วิสาหกิจที่มีการจ้างงานน้อยกว่า 200 คน สำหรับภาคการผลิตและบริการ และการจ้างงานน้อยกว่า 50 คน สำหรับภาคการค้า หรือมีมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินน้อยกว่า 200 ล้านบาท สำหรับภาคการผลิตและภาคบริการ และมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินน้อยกว่า 100 ล้านบาท สำหรับภาคการค้า (พ.ร.บ. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543, กระทรวงอุตสาหกรรม)

2. ประชาชนและชุมชน
2.1 ประชาชน หมายถึง นักวิทยาศาสตร์ชาวบ้าน และ/หรือ ปราชญ์วิทยาศาสตร์ชาวบ้าน และ/หรือผู้มีปัญญารอบรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชาวบ้านของชุมชน โดยจะต้องเป็นผู้มีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชาวบ้านและเป็นที่ประจักษ์ของคนชุมชน มีผลงานในการส่งเสริม และ/หรือ สนับสนุน และ/หรือถ่ายทอด องค์ความรู้ด้าน วทน. ให้กับชุมชน และเป็นผู้มีถิ่นฐานอยู่อาศัยในชุมชนที่นำองค์ความรู้ไปใช้ในช่วงปี 2552-2553 (ทั้งนี้ให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการฯ ในการตัดสินสิทธิในการเข้าร่วมประกวดเป็นที่สิ้นสุด)
2.2 ชุมชน หมายถึง ชุมชนที่สมาชิกของชุมชนรวมตัวกันตั้งแต่ 10 ครัวเรือนขึ้นไป สามารถพึ่งตัวเองได้ มีความสามัคคี รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สร้างประโยชน์สุขให้ชุมชนโดยส่วนรวม (คนที่อยู่ร่วมกันในขอบเขตทางภูมิศาสตร์ที่แน่นอน และมีความสัมพันธ์และโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องและพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธ์และโครงสร้างดังกล่าวมีวิวัฒนาการขึ้นมาจากกระบวนการกลุ่มที่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ทางสิ่งแวดล้อมของชุมชนจึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มทางดินแดน ทั้งนี้เพราะการพึ่งพาอาศัยกัน และการอยู่ร่วมกันเป็นปึกแผ่นภายในกลุ่มเกิดขึ้นได้เนื่องจากคนในกลุ่มสำนึกเรื่องเอกภาพ และความสามารถของชุมชนอันเพียงพอในการควบคุมกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเกิดขึ้นในขอบเขตทางดินแดน) โดยอ้างอิงจากจำนวนหมู่บ้านของประเทศไทยจากกรมการพัฒนาชุมชนจำนวน 71,130 หมู่บ้าน (ทั้งนี้ให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการฯ ในการตัดสินสิทธิในการเข้าร่วมประกวดเป็นที่สิ้นสุด)
1. นายกอปร กฤตยากีรณ ที่ปรึกษา
2. นายดำริ สุโขธนัง ประธานกรรมการ
3. นายเจนกฤษณ์ คณาธารณา กรรมการ
4. นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี    กรรมการ
5. นายพงษ์ศักดิ์ พิบูลศักดิ์ กรรมการ
6. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล   กรรมการ
7. นายวิเชียร สุขสร้อย กรรมการ
8. นายวิลาส สุวี  กรรมการ
9. นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กรรมการ
10. นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์  กรรมการและเลขานุการ
11. นายสนธิ นราเขมอนันต์   กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
กลุ่มจังหวัดตามภูมิลำเนาของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด สถานที่/ที่อยู่ในการจัดส่ง ผู้ประสานงานการจัดงาน
กรุงเทพมหานคร นายสนธิ นราเขมอนันต์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ที่อยู่ 319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 14 ถ.พญาไท ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 นายสนธิ นราเขมอนันต์ E-mail: sonthi@sti.or.th โทรศัพท์ 0-2160-5432 ต่อ 408 นายวาฤทธิ์ ศิริพิทยาโรจน์ E-mail: warid@sti.or.th โทรศัพท์ 0-2160-5432 ต่อ 409 โทรสาร 0-2160-5439
ภาคกลาง (นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง) อาจารย์พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 1 หมู่ 6 ถนนมาลัยแมน ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 อาจารย์พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม E-mail: faaspca@ku.ac.th, anuragudom@gmail.com โทร. 031-281105-6 ต่อ 7682 มือถือ 084-177-2662
ภาคตะวันตก (นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์) อาจารย์พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 1 หมู่ 6 ถนนมาลัยแมน ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 อาจารย์พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม E-mail: faaspca@ku.ac.th, anuragudom@gmail.com โทร. 031-281105-6 ต่อ 7682 มือถือ 084-177-2662
ภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) อาจารย์ ดร.นฤมล กิมภากรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 อาจารย์ ดร.นฤมล กิมภากรณ์ E-mail: narumon.cmu@gmail.com โทร. 053-942103, 053-942109
ภาคเหนือตอนล่าง (กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี) อาจารย์มาฏาร์ ชยทัตโต มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ 9 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ 65000 อาจารย์มาฏาร์ ชยทัตโต E-mail: madac@nu.ac.th โทร. 055-968625, 089-461-2224
ภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนบน (หนองคาย บึงกาฬ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์) อาจารย์ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 อาจารย์ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ E-mail: vijitnop@hotmail.com โทร. 0-4320-2401 ต่อ 125 , 081-661-4770
ภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนล่าง (อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์) อาจารย์ชยพล คติการ เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อาคารสุรพัฒน์1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 111 ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 อาจารย์จารุพร นอบน้อม
E-mail: chayapol.joe007@gmail.com, chayapol_joe007@hotmail.com โทรศัพท์. 081-8685430
ภาคใต้ (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง ภูเก็ต) อาจารย์ประวิทย์ โตวัฒนะ สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวณิชย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 อาจารย์ประวิทย์ โตวัฒนะ E-mail: prawit.t@psu.ac.th โทร. 074-282322, 083-519-6002
ภาคตะวันออก (ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด) อาจารย์คฑาวุธ ภาชนะ หน่วยงานวิเทศน์สัมพันธ์ สำนักงานอธิการบดี 169 ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131 อาจารย์คฑาวุธ ภาชนะ E-mail: biotite59@hotmail.com โทร. 080-403-3888 , 038-390047

4. ขั้นตอนการประกวด - ให้ผู้เข้าร่วมประกวดดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ตามขั้นตอนการประกวด ดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการ เอกสารสำคัญ วันครบกำหนด (หากเกินกำหนดที่กำหนดโปรดติดต่อผู้ประสานงานของพื้นที่)
ขั้นตอนที่ 1: ขั้นตอนการสมัคร ให้ผู้เข้าร่วมประกวดดำเนินการส่งใบสมัครการเข้าร่วมประกวด (สามารถ download จาก www.sti.or.th/sti และ และจากผู้ประสานงานของพื้นที่ 4.3) 1. ใบสมัคร - เอกสาร ข1 สำหรับผู้สมัครประเภทวิสาหกิจ - เอกสาร ข2 สำหรับผู้สมัครประเภทประชาชนและชุมชน) 2. แบบฟอร์มเพิ่มเติม เฉพาะผู้เข้าร่วมประกวดที่ไม่เคยกรอกรายละเอียด - เอกสาร ก1 สำหรับผู้สมัครประเภทวิสาหกิจ - เอกสาร ก2 สำหรับผู้สมัครประเภทประชาชนและชุมชน) 3. เอกสาร ค1 รูปแบบการนำเสนอผลงาน 15 กันยายน 2554
ขั้นตอนที่ 2: ขั้นตอนการพิจารณาผลการประกวดครั้งที่ 1 คณะกรรมการฯ ในพื้นที่ดำเนินการตรวจสอบเอกสารและพิจารณาผลงานของผู้เข้าประกวด ตามเอกสารใบสมัครของผู้เข้าประกวด   20 กันยายน 2554
ขั้นตอนที่ 3: ขั้นตอนการประกาศผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1 คณะกรรมการฯ ในพื้นที่ดำเนินการประกาศผลการตัดสินผู้ผ่านเข้ารอบครั้งที่ 1 พร้อมดำเนินการแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทราบผลการพิจารณา (สามารถดูผลการพิจารณาจากwww.sti.or.th/sti และ ผู้ประสานงานของพื้นที่ 4.3 และการประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ในพื้นที่) 1. ผลการพิจารณาของคณะกรรมการรายพื้นที่ 25 กันยายน 2554
ขั้นตอนที่ 4: ขั้นตอนการส่งเอกสารเพิ่มเติมของผู้ผ่านเข้ารอบเพื่อการ พิจารณาผลการประกวดของคณะกรรมการฯ ให้ผู้เข้าร่วมประกวดดำเนินการส่งเอกสารเพิ่มเติม โดยการนำเสนอผลงานในรูปแบบการนำเสนอสรุปผลงาน (Power Point Presentation) เพื่อการพิจารณาของคณะกรรมการฯ(สามารถ download จาก www.sti.or.th/sti และจากผู้ประสานงานของพื้นที่ 4.3) 1. เอกสารรูปแบบการนำเสนอผลงานผู้ผ่านเข้ารอบที่ 2 (เอกสาร ค1) 10 ตุลาคม 2554
ขั้นตอนที่ 5: ขั้นตอนการพิจารณาเอกสารเพื่อคัดเลือกผู้เหมาะสมเข้าเสนอผลงาน 1. คณะกรรมการพิจารณา ค1, ก1 และ ก2 2. คณะกรรมการแจ้งผลการพิจารณาให้กับผู้เข้ารอบเพื่อนำมาเสนอผลงาน   15 ตุลาคม 2554
ขั้นตอนที่ 6: ขั้นตอนการพิจารณาครั้งที่ 2 ผลการประกวดของผู้ผ่านเข้ารอบ คณะกรรมการฯ ในพื้นที่ดำเนินการพิจารณาผลงานของผู้เข้าประกวด โดยการนำเสนอของผู้เข้าร่วมการประกวด และ/หรือ ผู้แทน   19-20 ตุลาคม 2554
ขั้นตอนที่ 7 : ขั้นตอนการประกาศผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2 คณะกรรมการฯ ในพื้นที่ดำเนินการประกาศผลการตัดสินผู้ผ่านเข้ารอบครั้งที่ 2 โดยสรุปผลการเข้ารอบสุดท้ายประเภทวิสาหกิจ ชุมชน และประชาชน ดังนี้ 1. ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 3 ราย ประเภทวิสาหกิจขนาดใหญ่ในพื้นที่เป้าหมาย (ชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2) 2. ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 3 ราย ประเภทวิสาหกิจ SMEs ในพื้นที่เป้าหมาย (ชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2) 3. ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 3 ราย ประเภทประชาชนและชุมชน ในพื้นที่เป้าหมาย (ชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2) (สามารถดูผลการพิจารณาจาก www.sti.or.th/sti ผู้ประสานงานของพื้นที่ 4.3 และการประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ในพื้นที่) ทั้งนี้รางวัลชมเชยให้ขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตัดสินรางวัล 1. ผลการพิจารณารอบสุดท้ายของคณะกรรมการรายพื้นที่ 31 ตุลาคม 2554
ขั้นตอนที่ 8: ขั้นตอนการพิจารณา ครั้งที่ 3 พิจารณาผลการประกวดของผู้ชนะเลิศในระดับพื้นที่เพื่อการตัดสินระดับประเทศ คณะกรรมการฯ ระดับประเทศดำเนินการพิจารณาผลงานของผู้ชนะเลิศในระดับพื้นที่ต่างๆ โดยการนำเสนอของผู้เข้าร่วมการประกวด และ/หรือ ผู้แทน (ซึ่งเวลาในการพิจารณาอาจใช้กระบวนการการประชุมมากกว่า 1 ครั้งและให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมระดับประเทศถือเป็นที่สุดของการพิจารณา)   15 พฤศจิกายน 2554
ขั้นตอนที่ 9: ขั้นตอนการประกาศผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ระดับประเทศ คณะกรรมการฯ ระดับประเทศดำเนินการประกาศผลการตัดสินผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย โดยสรุปผลการตัดสินระดับประเทศ ดังนี้ 1. รางวัล STI Thailand Award 2011 (Green Carpet) ชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 ประเภทวิสาหกิจขนาดใหญ่ 2. รางวัล STI Thailand Award 2011 (Green Carpet) ชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 ประเภทวิสาหกิจ SMEs 3. รางวัล STI Thailand Award 2011 (Green Carpet) ชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 ประเภทประชาชนและชุมชน (สามารถดูผลการพิจารณาจากwww.sti.or.th/sti ผู้ประสานงานของพื้นที่ 4.3 และการประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ในพื้นที่) ทั้งนี้รางวัลชมเชยให้ขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตัดสินรางวัล 1. ผลการพิจารณารอบสุดท้ายของคณะกรรมการระดับประเทศ โดยมีผู้แทนระดับพื้นที่เข้าร่วมการพิจารณา 30 พฤศจิกายน 2554
ขั้นตอนที่ 10 : ขั้นตอนการประกาศผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ระดับประเทศ และการมอบรางวัลฯ คณะกรรมการฯ ระดับประเทศแจ้งผลการพิจารณาต่อสำนักงานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เพื่อการมอบรางวัลการจัดงานพิธีการมอบรางวัล (โล่รางวัล และใบประกาศ) ในงานสมัชชาวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 10 (สามารถดูผลการพิจารณาจากwww.sti.or.th/sti ผู้ประสานงานของพื้นที่ 4.3 และการประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ในพื้นที่) 1. ผลการพิจารณารอบสุดท้ายของคณะกรรมการระดับประเทศ 30 ธันวาคม 2554 (เวลา สถานที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)


5. กฎกติกาการเข้าร่วมประกวดให้ผู้เข้าร่วมประกวดดำเนินการ ตามข้อระเบียบ ดังนี้
  • ผู้เข้าร่วมประกวดต้องนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการตามเวลาที่กำหนดเพื่อให้คณะกรรมการดำเนินการตามขั้นตอน และต้องอำนวยความสะดวกหากมีข้อซักถาม
  • ผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดของผู้เข้าร่วมประกวดต้องไม่เป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบของผู้อื่น และต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับรางวัลระดับพื้นที่ขึ้นไปมาก่อน
  • ผู้เข้าร่วมประกวดต้องแสดงผลงานต่อคณะกรรมการหากได้รับการร้องขอ พร้อมจัดแสดงชิ้นงานในวันงานมอบรางวัล ดำเนินการอื่นๆ ตามกฎกติกาที่คณะกรรมการระดับประเทศประกาศ
  • ใบสมัคร ข.1 ใบสมัครเข้าร่วมประกวดประเภทวิสาหกิจ  [1]
  • ใบสมัคร ข.2 ใบสมัครเข้าร่วมประกวดประเภทประชาชนและชุมชน [2]
  • แบบฟอร์ม ก.1 ข้อมูลการลงทุนและค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนา และกิจกรรมนวัตกรรม (ประเภทอุตสาหกรรม) [3]
  • แบบฟอร์ม ก.2 การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น (ประเภทประชาชนและชุมชน) [4]
การประกวดรางวัล STI Thailand Award 2012 (Green Innovation) แบ่งการออกเป็น 2 ส่วน คือ การประกวดรางวัล STI Thailand Award 2012 (Green Innovation) ระดับพื้นที่ และระดับประเทศ ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาตัดสินรางวัลในระดับพื้นที่ และระดับประเทศจะใช้เกณฑ์การพิจารณาตัดสินเดียวกัน ประกอบด้วย

ประเภทวิสาหกิจ
เกณฑ์การพิจารณาที่ 1 - ผลงานการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาต่อยอด


พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันเป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่ โดยตัวผลงานที่ส่งเข้าประกวดมีส่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศไม่ว่าด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ด้านสุขภาวะ องค์ความรู้ของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น หรือด้านการกีดกันทางการค้า และการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

การพิจารณารวมไปถึงการให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนา และ/หรือการพัฒนาต่อยอด และ/หรือกิจกรรมทางด้านการพัฒนางานนวัตกรรมขององค์กร โดยพิจารณาจากจำนวนผลงาน ชิ้นงาน หรือกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์กร เพื่อปรับปรุง ลด หรือเพิ่มเติมประสิทธิภาพขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม

เกณฑ์การพิจารณาที่ 2 - การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนางานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขัน โดยพิจารณาจากการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อพัฒนาผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ว่ามีจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงบุคลากรที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการวิจัยและพัฒนา และการสร้างผลงานทางด้านนวัตกรรม และค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา และกิจกรรมทางด้านนวัตกรรมที่มีต่อตัวผลงานนั้นๆ

การพิจารณารวมไปถึงจากการให้ความความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนา และกิจกรรมทางด้านนวัตกรรมอย่างจริงจังขององค์กร โดยพิจารณาจากสัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาต่อยอดขาย กับสัดส่วนการลงทุนด้านการกิจกรรมนวัตกรรมต่อยอดขาย ว่ามีมากน้อยเพียงใด

เกณฑ์การพิจารณาที่ 3 - การให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในเชิงพาณิชย์

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขัน องค์กรได้ให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลงานดังกล่าวไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากน้อยเพียงใด

การพิจารณารวมไปถึงองค์กรมีการให้ความสำคัญกับการจัดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญามากน้อยเพียงใด และมีจำนวนผลงานที่คิดค้น ประดิษฐ์ หรือผลิตขึ้นมาในองค์กรนั้น ทั้งด้านผลงานทางด้านการวิจัยและพัฒนา หรือผลงานทางด้านกิจกรรมนวัตกรรม สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากน้อยเพียงใด

เกณฑ์การพิจารณาที่ 4 - การพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ (นวัตกรรมเขียว)

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น เป็นผลงานที่มีการพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ทั้งตัวผลิตภัณฑ์/บริการ/กระบวนการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในการดำเนินธุรกิจ หรือเกี่ยวข้องกับแก้ไขปัญหาคุณภาพ มาตรฐานที่เกิดขึ้นจากกฎระเบียบ ข้อบังคับด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

ประเภทประชาชนและชุมชน

เกณฑ์การพิจารณาที่ 1 - การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับประชาชนและชุมชน ความสามารถในการพึ่งพิงตนเอง เกิดสังคมฐานความรู้ โดยอาศัยองค์ความรู้จากผลงานการสร้างนวัตกรรมระดับชุมชน

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันเป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่ โดยตัวผลงานที่ส่งเข้าประกวดมีส่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศไม่ว่าด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ด้านสุขภาวะ องค์ความรู้ของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น หรือการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน โดยมุ่งเน้นการพึ่งพิงตนเอง การพิจารณารวมไปถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพิจารณาจากการมีแผนชุมชนนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสามัคคี การรวมกลุ่ม การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินการต่างๆ

เกณฑ์การพิจารณาที่ 2 - การพัฒนาผลงานการสร้างนวัตกรรมระดับชุมชน

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น สร้างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนเมื่อมีการนำผลงานดังกล่าว อันเป็นผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม หรือเป็นการส่งเสริมการใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการผลิตเพื่อการอุปโภคหรือบริโภคในชุมชน ทั้งมีเหลือยังสามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับชุมชนได้

เกณฑ์การพิจารณาที่ 3 - การสร้างสังคมฐานความรู้ (ทรัพย์สินทางปัญญาระดับชุมชน และการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ของชุมชน)

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น สามารถสร้างก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน และเกิดการสร้างความตระหนักในด้านการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำรงชีวิต

เกณฑ์การพิจารณาที่ 4 - การพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ (นวัตกรรมเขียว)

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น เป็นผลงานที่มีการพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ มีการรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบคอบ และยั่งยืน โดยตัวผลงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

สำหรับการประกวดรางวัล STI Thailand Award 2012 (Green Innovation) ระดับประเทศนั้น จะนำผู้ชนะเลิศที่ได้รับรางวัลที่ 1 เท่านั้น ในแต่ละประเภท และแต่ละพื้นที่เข้ามาประกวดรางวัลในระดับประเทศต่อไป
พื้นที่ภาคเหนือตอนบน                                              
พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน                       
พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก                                
พื้นที่ภาคตะวันออก
พื้นที่ภาคใต้                                                             
พื้นที่กรุงเทพมหานคร


การประกวดรางวัล STI Thailand Award 2012 (Green Innovation) แบ่งการออกเป็น 2 ส่วน คือ การประกวดรางวัล STI Thailand Award 2012 (Green Innovation) ระดับพื้นที่ และระดับประเทศ ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาตัดสินรางวัลในระดับพื้นที่ และระดับประเทศจะใช้เกณฑ์การพิจารณาตัดสินเดียวกัน ประกอบด้วย

ประเภทวิสาหกิจ

เกณฑ์การพิจารณาที่ 1 - ผลงานการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาต่อยอด

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันเป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่ โดยตัวผลงานที่ส่งเข้าประกวดมีส่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศไม่ว่าด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ด้านสุขภาวะ องค์ความรู้ของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น หรือด้านการกีดกันทางการค้า และการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

การพิจารณารวมไปถึงการให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนา และ/หรือการพัฒนาต่อยอด และ/หรือกิจกรรมทางด้านการพัฒนางานนวัตกรรมขององค์กร โดยพิจารณาจากจำนวนผลงาน ชิ้นงาน หรือกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์กร เพื่อปรับปรุง ลด หรือเพิ่มเติมประสิทธิภาพขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม

เกณฑ์การพิจารณาที่ 2 - การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนางานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขัน โดยพิจารณาจากการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อพัฒนาผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ว่ามีจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงบุคลากรที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการวิจัยและพัฒนา และการสร้างผลงานทางด้านนวัตกรรม และค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา และกิจกรรมทางด้านนวัตกรรมที่มีต่อตัวผลงานนั้นๆ

การพิจารณารวมไปถึงจากการให้ความความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนา และกิจกรรมทางด้านนวัตกรรมอย่างจริงจังขององค์กร โดยพิจารณาจากสัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาต่อยอดขาย กับสัดส่วนการลงทุนด้านการกิจกรรมนวัตกรรมต่อยอดขาย ว่ามีมากน้อยเพียงใด

เกณฑ์การพิจารณาที่ 3 - การให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในเชิงพาณิชย์

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขัน องค์กรได้ให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลงานดังกล่าวไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากน้อยเพียงใด

การพิจารณารวมไปถึงองค์กรมีการให้ความสำคัญกับการจัดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญามากน้อยเพียงใด และมีจำนวนผลงานที่คิดค้น ประดิษฐ์ หรือผลิตขึ้นมาในองค์กรนั้น ทั้งด้านผลงานทางด้านการวิจัยและพัฒนา หรือผลงานทางด้านกิจกรรมนวัตกรรม สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากน้อยเพียงใด

เกณฑ์การพิจารณาที่ 4 - การพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ (นวัตกรรมเขียว)

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น เป็นผลงานที่มีการพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ทั้งตัวผลิตภัณฑ์/บริการ/กระบวนการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในการดำเนินธุรกิจ หรือเกี่ยวข้องกับแก้ไขปัญหาคุณภาพ มาตรฐานที่เกิดขึ้นจากกฎระเบียบ ข้อบังคับด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

ประเภทประชาชนและชุมชน

เกณฑ์การพิจารณาที่ 1 - การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับประชาชนและชุมชน ความสามารถในการพึ่งพิงตนเอง เกิดสังคมฐานความรู้ โดยอาศัยองค์ความรู้จากผลงานการสร้างนวัตกรรมระดับชุมชน

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันเป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่ โดยตัวผลงานที่ส่งเข้าประกวดมีส่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศไม่ว่าด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ด้านสุขภาวะ องค์ความรู้ของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น หรือการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน โดยมุ่งเน้นการพึ่งพิงตนเอง

การพิจารณารวมไปถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพิจารณาจากการมีแผนชุมชนนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสามัคคี การรวมกลุ่ม การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินการต่างๆ

เกณฑ์การพิจารณาที่ 2 - การพัฒนาผลงานการสร้างนวัตกรรมระดับชุมชน

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น สร้างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนเมื่อมีการนำผลงานดังกล่าว อันเป็นผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม หรือเป็นการส่งเสริมการใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการผลิตเพื่อการอุปโภคหรือบริโภคในชุมชน ทั้งมีเหลือยังสามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับชุมชนได้

เกณฑ์การพิจารณาที่ 3 - การสร้างสังคมฐานความรู้ (ทรัพย์สินทางปัญญาระดับชุมชน และการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ของชุมชน)

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น สามารถสร้างก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน และเกิดการสร้างความตระหนักในด้านการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำรงชีวิต

เกณฑ์การพิจารณาที่ 4 - การพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ (นวัตกรรมเขียว)

พิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันนั้น เป็นผลงานที่มีการพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ มีการรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบคอบ และยั่งยืน โดยตัวผลงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

สำหรับการประกวดรางวัล STI Thailand Award 2012 (Green Innovation) ระดับประเทศนั้น จะนำผู้ชนะเลิศที่ได้รับรางวัลที่ 1 เท่านั้น ในแต่ละประเภท และแต่ละพื้นที่เข้ามาประกวดรางวัลในระดับประเทศต่อไป
ประเภทวิสาหกิจขนาดใหญ่
 
อันดับ รหัสบริษัท ชื่อบริษัท ผลการพิจารณารางวัล
1 420200 บริษัท แอ๊พพลาย ดีบี อินดัสเตรียส จำกัด รางวัลที่ 1
2 461450 บริษัท อีสเทิร์น โพลีแพค จำกัด รางวัลที่ 2
3 420732 บริษัท สามมิตรมอเตอร์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (มหาชน) รางวัลที่ 3
4 451415 บริษัท สยามพรีเสิร์ฟฟู้ดส์ จำกัด รางวัลชมเชย
5 461233 บริษัท สแตนดาร์ต อินซูเลเตอร์ จำกัด รางวัลชมเชย
6 420685 บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด รางวัลชมเชย
7 420749 บริษัท เสถียรพลาสติค แอนด์ ไฟเบอร์ จำกัด รางวัลชมเชย
8 420458 บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) รางวัลชมเชย
9 450603 บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์จำกัด (มหาชน) รางวัลชมเชย
10 450689 บริษัท น้ำปลา พิไชย จำกัด รางวัลชมเชย
11 420687 บริษัท สยามคาสท์ไออ้อนเวอร์คส์ จำกัด รางวัลชมเชย
12 451898 บริษัท ไทยซังซีน นิวแมททีเรียล จำกัด รางวัลชมเชย
13 460531 บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) รางวัลชมเชย
14 460849 บริษัท ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน) รางวัลชมเชย
15 420456 บริษัท พรีเมียร์ โปรดักส์ จำกัด รางวัลชมเชย
16 420473 บริษัท เพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) รางวัลชมเชย
17 451438 บริษัท สยามอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ จำกัด รางวัลชมเชย
18 421005 บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด รางวัลชมเชย
19 440106 บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด รางวัลชมเชย
20 440457 บริษัท ที โอ เอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด รางวัลชมเชย
21 470188 บริษัท เยนเนรัล สตาร์ช จำกัด รางวัลชมเชย
22 451576 บริษัท อัลลายด์เทคเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด รางวัลชมเชย
23 440807 บริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด รางวัลชมเชย
24 441778 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เหรียญทองการพิมพ์ รางวัลชมเชย
25 420099 บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ประเทศไทย จำกัด รางวัลชมเชย
26 471212 บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม (สระบุรี) จำกัด รางวัลชมเชย

ประเภทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
 
อันดับรวม รหัสบริษัท ชื่อบริษัท ผลการพิจารณารางวัล
1 460764 บีเคอี คอมบัสชั่นคอนโทรลส์ รางวัลที่ 1
2 441760 บริษัท รอยัลมอเตอร์เวอร์ค จำกัด รางวัลที่ 2
3 481556 บริษัท มิสกัน (ไทยแลนด์) จำกัด รางวัลที่ 2
4 471833 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ธนไพศาล รางวัลที่ 3
5 450690 บริษัท น้ำมันรำข้าวสุรินทร์ จำกัด รางวัลชมเชย
6 420560 บริษัท ยูโทเปี้ยน จำกัด รางวัลชมเชย
7 420139 บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) รางวัลชมเชย
8 470445 บริษัท แอคเตอร์ อิเล็คทรอนิคส์ จำกัด รางวัลชมเชย
9 420950 บริษัท ไทยนันเปา เรซินส์ เคมีคอล จำกัด รางวัลชมเชย
10 471194 บริษัท ธัญญผล วิศวกรรม จำกัด รางวัลชมเชย
11 450222 บริษัท แจ๊คส์เพ้นทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด รางวัลชมเชย
12 440491 บริษัท ไทย จีซีไอ เรซิทอป จำกัด รางวัลชมเชย
13 440286 บริษัท ซิตี้ฟู้ด จำกัด รางวัลชมเชย
14 441063 บริษัท ราชาอีควิปเมนท์ จำกัด รางวัลชมเชย
15 470423 บริษัท แม็กเนท เทคโนโลยี จำกัด รางวัลชมเชย
16 441256 บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด รางวัลชมเชย
17 420145 บริษัท ซันฟีด จำกัด รางวัลชมเชย
18 450091 บริษัท ควอลิตี้ แอสเซ็มบลี่ (ไทยแลนด์) จำกัด รางวัลชมเชย