โครงการ WiL โรงเรียนในโรงงาน

          มีชื่ออย่างเป็นทางการ คือ โครงการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work-integrated Learning: WiL) ในรูปแบบ โรงเรียนในโรงงาน โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม



ภาคการศึกษา/ภาครัฐ


เป้าหมาย

  1. เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผ่านการผลิตและพัฒนากำลังคนทางเทคนิคและเทคโนโลยี (ปวส.-ป.ตรี) ที่มีทักษะและความรู้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง
  2. เพื่อแก้ปัญหาความไม่สอดคล้อง (mismatch) ด้านกำลังคนระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคการศึกษา โดยที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะ “กำลังคน” ที่เข้าร่วมโครงการได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิผล

ความเป็นมา

           แนวทางหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย 2575 ของรัฐบาล จำเป็นต้องอาศัยฐานความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการสร้างมูลค่า คุณค่า ในทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลก และการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจ ฐานเทคโนโลยีและเศรษฐกิจฐานความรู้ ทำให้ประเทศไทยต้องเพิ่มสมรรถนะของประเทศ ซึ่งการวัดสมรรถนะของประเทศวัดได้จาก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างงานและความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากเงื่อนไขที่มี 5 องค์ประกอบคือ 1) เศรษฐศาสตร์มหภาคและการกำกับ 2) ระบบการศึกษาและการฝึกอบรม 3) โครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารคมนาคม 4) เงื่อนไขการตลาดผลิตภัณฑ์ และ 5) เงื่อนไขการตลาดปัจจัย นอกเหนือจากเงื่อนไขข้างต้น ยังมีปัจจัยที่สำคัญคือ ความสามารถของระบบนวัตกรรมของประเทศ ซึ่งมีผลมาจากระบบนวัตกรรมของประเทศที่สัมพันธ์โดยตรงกับการสร้างความรู้ การเผยแพร่ความรู้และการใช้ความรู้ การไหลเวียนของความรู้ (สร้าง เผยแพร่ ใช้) ที่เกิดขึ้นในระบบวิทยาศาสตร์ หรือองค์กรวิจัยอื่นๆ (ความรู้ทางทฤษฎี) และที่สำคัญที่สุดคือ ในบริษัทและเครือข่ายของบริษัท (ความรู้ทางปฏิบัติ) การเพิ่มความรู้ในอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มความสามารถระบบนวัตกรรมของประเทศ การเชื่อมโยงแสดงได้ดังรูปที่ 1



รูปที่ 1 ความเชื่อมโยงสมรรถนะของประเทศกับการเพิ่มความรู้ในอุตสาหกรรม

           ในขณะที่กระบวนการการสร้างความรู้ การเผยแพร่ความรู้และการใช้ความรู้ การไหลเวียนของความรู้ (สร้าง เผยแพร่ ใช้) ในภาคอุตสาหกรรมนั้นจำเป็นต้องพัฒนาขึ้นและทำให้สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาบุคคลกรด้านวิจัย และนวัตกรรมในองค์กรอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ ในระดับการผลิต (manufacturing and mass production) ต้องการกระบวนการที่นำไปสู่ Productivity สูง Cost ต่ำ และ Delivery ตรงเวลา แต่ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมประสบปัญหาการขาดแรงงานการขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ และสามารถพัฒนาได้สู่เทคโนโลยีระดับสูง ในระดับ Expert Function ที่เป็นการวิจัยและนวัตกรรมซึ่งเป็นจุดรวมของความเชี่ยวชาญในกิจกรรมหลัก ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบ การทดสอบ การผลิต แต่ขาดสิ่งที่จะทำให้ Expert Function ต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพได้ คือ บุคลากรวิจัยและนวัตกรรม และกระบวนการทำงานร่วมกัน (Process) การหมุนเวียนคนและความรู้อย่างเป็นระบบ (rolling system) โดยเฉพาะระดับการผลิต กับระดับ Expert Function

           การแก้ปัญหาดังกล่าวจะนั้น ถือเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทยและมีความท้าทายสูง จึงต้องการกลไกสนับสนุน และผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจและมีประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมากมาบริหารจัดการ ทั้งด้าน การจัดหาคณะทำงานจากผู้มีประสบการณ์ทำงานสูงในภาคอุตสาหกรรมที่มีความเข้าใจ core business ของสถานประกอบการ ความเข้าใจในการแข่งขันตามกลไกตลาดของอุตสาหกรรม เพื่อผลิตกำลังคนทางวิจัยและนวัตกรรม (ป.โท) ผ่านกระบวนการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ การถอดบทเรียน การสะสมความรู้ การเผยแพร่ความรู้และการใช้ความรู้ การไหลเวียนของความรู้ (ไม่ใช่ความลับ) ในสถานประกอบการ เพื่อนำไปสู่ผลงานวิจัยและการใช้นวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรม กลไกดังกล่าวจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบควบคู่กับการพัฒนากำลังคนทางเทคนิคและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง (ปวส.-ป.ตรี) โดยจัดบูรณาการการศึกษากับการทำงาน และมีการดูแลบุคลากรดังกล่าวให้ได้รับความรู้และผลตอบแทน มีการประสานงานจัดการโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับสถานประกอบการและสถานศึกษา รวมทั้งมีตัวกลางที่มีความคล่องตัวสูงมาดำเนินการ รวมทั้งมีความสามารถในการแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน และสามารถขยายตัวไปยังอุตสาหกรรมอื่นได้ในวงกว้าง ภายใต้กรอบและเป้าหมายเพื่อสร้างระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ที่มีวงรอบการทำงานที่ชัดเจน สามารถตั้งเป้าหมาย QCDS (Quality Cost Delivery and Standard) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมในภาพรวมได้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานความรู้สำคัญที่จะนำไปสู่การยกระดับเป็นองค์กรนวัตกรรม ที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างสม่ำเสมอ และอย่างยั่งยืน

           สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) จึงต้องจัดทำโครงการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work-integrated Learning: WiL) ในรูปแบบ โรงเรียนในโรงงาน ขึ้น เพื่อสร้างการเจริญเติบโตของธุรกิจด้วยการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ของอุตสาหกรรม ผ่านการลงทุนเพื่อสร้างกำลังคนทางวิจัยและนวัตกรรม (ป.โท) ควบคู่กับกำลังคนทางเทคนิคและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง (ปวส.-ป.ตรี) ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบ โดยมีสัดส่วนในการลงทุนระหว่างสถานประกอบการและรัฐไม่น้อยกว่า 70:30 โดยที่สามารถเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ในสถานประกอบการ อันนำไปสู่การลดต้นทุนในการผลิต และเพิ่มการลงทุนด้านงานวิจัยให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป


ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ

  1. นักศึกษา WiL
    1. ระดับ ปวส./ป.ตรี
    2. ระดับ ป.โท
  2. สถานประกอบการ
    1. สถานประกอบการ
    2. กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
    3. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร
    4. กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
  3. สถานศึกษา WiL
    1. วิทยาลัยเทคนิค
    2. มหาวิทยาลัย

สำหรับผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ

  1. นักเรียนที่กำลังจะจบการศึกษา ม. 6 / ปวช. (รายละเอียด คลิ๊ก)
  2. ผู้ปกครองที่ประสงค์ส่งบุตรหลานเข้าโครงการ (รายละเอียด คลิ๊ก)
  3. ครูแนะแนว ผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย (รายละเอียด คลิ๊ก)

ประกาศ/ข่าวสาร

  1. การรับสมัครรอบที่ 1
  2. กิจกรรม: ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับอาชีพครั้งที่ 1
  3. กิจกรรมกีฬาสี WiL สัมพันธ์ ครั้งที่ 1

สื่อประชาสัมพันธ์



สอบถามเพิ่มเติม

  • กลุ่มยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สวทน. โทร 02-109-5432 ต่อ 307 (คุณพริสา) หรือ ต่อ 417 (คุณณัฐฐินันท์)
  • Email: sti.wil@sti.or.th
  • Facebook: WiLโรงเรียนในโรงงาน