ผลงานวิจัยนโยบาย

        ข้อเสนอที่เป็นนโยบาย แผนระดับชาติ แผนรายสาขาอุตสาหกรรม/เทคโนโลยี แผนรายพื้นที่ แผนการปรับโครงสร้างเชิงระบบด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือกลุ่มมาตรการเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะระดับประเทศ จำนวน 3 เรื่อง

        1. มาตรการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของภาคเอกชนด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับค่าใช้จ่ายวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 300%

        2. การปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย

        3. การขับเคลื่อนการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายบุคลากร วทน. ในระดับอาเซียน (ASEAN Talent Mobility)

ข้อเสนอนโยบาย แผน มาตรการที่ได้รับการขับเคลื่อน (แผน/มาตรการ/นโยบาย) : พิจารณาจากการบรรลุผลในการขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน มาตรการ ที่เสนอโดย สวทน. และ/หรือ หน่วยงานอื่น ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนประเทศ อาทิ ยุทธศาสตร์ประเทศ นโยบายและแผน วทน. ยุทธศาสตร์การวิจัย นโยบายรัฐบาล และ นโยบาย วท. เป็นต้น โดย สวทน. มีการ บูรณาการ/สนับสนุน/ส่งเสริม/นำร่อง กับพันธมิตร/เครือข่ายทั้งในและ/หรือเครือข่ายต่างประเทศ และผลักดันไปสู่การปฏิบัติ/นำไปใช้ จนเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อหน่วยงานพันธมิตร/เครือข่าย/สังคมและ/หรือเศรษฐกิจ จำนวน 7 เรื่อง

        1. หลักสูตรพัฒนาขีดความสามารถของผู้บริหารองค์กรเพื่อนำ วทน. สู่การปฏิบัติในองค์กร

        2. การจัดทำแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งของสังคม ชุมชนและท้องถิ่นด้วย วทน.

        3. ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากลไกและเครื่องมือสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการรายสาขาและรายประเด็น (กรณีนำร่องสาขาข้าว)

        4. การส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

        5. การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปด้วย วทน.ตามยุทธศาสตร์ Thailand Food Valley (TFV)

        6. สร้างกลไกการทำงานด้านการทูตวิทยาศาสตร์ (Science Diplomacy) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และดำเนินโครงการ/
กิจกรรมนำร่อง

        7. การจัดทำกลไกด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

        ข้อเสนอที่เป็นนโยบาย แผนระดับชาติ แผนรายสาขาอุตสาหกรรม/เทคโนโลยี แผนรายพื้นที่ แผนการปรับโครงสร้างเชิงระบบด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือกลุ่มมาตรการเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะระดับประเทศ ดำเนินการได้ 6 เรื่อง

        1. การประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยี (Technology Needs Assessments: TNA) สำหรับประเทศไทยในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

        2. ข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่ โดยข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่เกิดขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้าน วทน. ของอาเซียน (ASEAN Plan of Action of Science, Technology and Innovation) ซึ่งเสนอต่อที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on Krabi Initiative และที่ประชุม ASEAN Committee on Science and Technology (COST) ครั้งที่ 64 วันที่ 27 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2555 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม

        3. แผนพัฒนาสถิติสาขา วทน. ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554-2558 ประกอบด้วยสถิติทางการสาขา วทน. จำนวน 170 รายการ โดยที่ สวทน. รับผิดชอบ 69 รายการ สรุปสาระสำคัญของมติ ครม. ที่เกี่ยวข้องกับ   แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2556

        4. ข้อเสนอนโยบายโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2556 – 2560) สวทน. ร่วมกับ สอศ. มีความเห็นว่า หลักสูตรเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษในสายอาชีวศึกษา จึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการฯในระยะที่ 2 (พ.ศ.2556-2560) ต่อไป โดยได้จัดทำข้อเสนอนโยบายและแนวทางการดำเนินงานโครงการฯ ต่อ ครม.

        5. กรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย พ.ศ. 2555-2564 สวทน. ได้รายงานกรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย พ.ศ. 2555-2564 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2555 ในวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

        6. ข้อเสนอเชิงนโยบายโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการ วทน. ภายใต้แผนยุทธศาสตร์และแผนปฎิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2557 ของกลุ่มจังหวัดและจังหวัดเป้าหมาย โดยดำเนินการผลักดันนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 - 2564) ไปสู่การปฏิบัติรายพื้นที่ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลักของรัฐ ที่เป็นผู้แทน สวทน. ประจำภูมิภาคข้างต้น โดยมีผลการดำเนินงานผลักดันให้เกิดแผนงาน/โครงการ ในรูปแบบของแผนงานโครงการตามมิติของภารกิจประจำ และมิติของ Mega Project ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2564) บรรจุเข้าสู่แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด พ.ศ. 2557-2560 และผลักดันแผนงาน/โครงการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2564) เสนอของบประมาณประจำปีงบประมาณ 2557 จากรัฐบาล โดยได้ผลักดันเข้าสู่ กนจ. โดยผ่าน กพร. ซึ่งเป็นเลขานุการ กนจ. และผ่านการพิจารณาจาก สำนักงบประมาณ แล้ว โดยมีผลการพิจารณาอนุมัติงบประมาณดำเนินการในปี 2557

        การบรรลุผลในการขับเคลื่อนนโยบาย มาตรการ ที่ต้องใช้ความพยายามสูง มีความยาก ปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียในเชิงลึกและมีจำนวนมาก และกระทบในวงกว้าง ดำเนินการได้ 5 เรื่อง

        1. ขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility)

        2. โครงการศึกษาและผลักดันนโยบายการบูรณาการกับการทำงาน (Work integrated learning, Wil) : การพัฒนากำลังคนทางเทคนิคระดับ ปวส.

        3. โครงการสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) ของ สอว. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

        4. ข้อเสนอนโยบายระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (ขับเคลื่อนในคณะกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ)

        5. โครงการพัฒนาหลักสูตรและนำร่องการสร้างกำลังคนด้านระบบขนส่งทางรางเข้าสู่ตลาดแรงงาน (18 รายวิชา ระดับปริญญาตรี, ปวส) และ วศร.

        ข้อเสนอที่เป็นนโยบาย แผนระดับชาติ แผนรายสาขาอุตสาหกรรม/เทคโนโลยี แผนรายพื้นที่ แผนการปรับโครงสร้างเชิงระบบด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือกลุ่มมาตรการเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะระดับประเทศ ดำเนินการได้ 6 เรื่อง

        1. นโยบายและแผน วทน. แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2564) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (กวทน.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555

        2. กรอบการเจรจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยสำหรับ COP17 ข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเด็น Technology Development and Transfer ที่เสนอกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554

        3. กรอบนโยบายการพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย (พ.ศ. 2555-2564) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555

        4. การจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555

        5. นโยบายระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สวทน. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กรมทรัพย์สินทางปัญญา (ทป.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) ได้จัดทำข้อเสนอนโยบายระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อพัฒนาการบริหารระบบทรัพย์สินทางปัญญา ให้มีการสร้างทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น มีการคุ้มครองที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น และมีการสร้างแรงจูงใจให้มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ในการขับเคลื่อนระบบทรัพย์สินทางปัญญาให้เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2554 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2554 และคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (กวทน.) มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555

        6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ของประเทศ พ.ศ. 2556 – 2560 สวทน. ร่วมกับ สป.วท. และ สวทช. ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ของประเทศ (พ.ศ. 2556 - 2560) เพื่อเป็นแผนและแนวทางการพัฒนากิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ของประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ครม. เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555

        ข้อเสนอที่เป็นมาตรการเฉพาะอย่าง หรือแนวคิดแผนงาน/โครงการขนาดใหญ่ที่เป็นเรื่องเฉพาะเพื่อหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับเป็นเจ้าภาพไปดำเนินการต่อ ดำเนินการได้ 2 เรื่อง

        1. นโยบายและแนวทางการดำเนินโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2556-2560) ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ 1/2555 ในวันที่ 4 เมษายน 2555

        2. การส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สป.วท. สวทช. และ สวทน. ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเป็นแผนและแนวทางการพัฒนากิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ของประเทศ โดยคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 และเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2554 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 และในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ ณ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดภูเก็ต มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั้ง 3 โครงการ ได้แก่

          - โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (เชียงใหม่) เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555
          - โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 และ
          - โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (สงขลา) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2555

        นโยบาย มาตรการที่ได้รับการขับเคลื่อน หรือแผนปฏิบัติการของหน่วยงานของรัฐและ/หรือเอกชนที่สอดคล้องหรือเชื่อมโยงกับแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ การบรรลุผลในการขับเคลื่อนนโยบาย มาตรการ ที่ต้องใช้ความพยายามสูง มีความยาก ปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียในเชิงลึกและมีจำนวนมาก และกระทบในวงกว้าง ดำเนินการได้ 9 เรื่อง

        1. โครงการศึกษาและผลักดันนโยบายการบูรณาการกับการทำงาน (Work integrated learning, WiL) : การพัฒนากำลังคนทางเทคนิคระดับ ปวส. สำนักงานฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดทำโครงการและผลักดันนโยบายการบูรณาการกับการทำงาน ในกำลังคนทางเทคนิคระดับ ปวส. โดยมีความร่วมมือกับบริษัท มิชลิน (ประเทศไทย) จำกัด ในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อผลิตกำลังคนทางเทคนิคที่มีความรู้และทักษะตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความจำเป็นต้องใช้กำลังคนทางเทคนิคที่มีทักษะความรู้และความชำนาญการเฉพาะในแต่ละสาขาช่างเป็นผู้ควบคุมดูแลในทุกขั้นตอนการผลิต โดยนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมาทำงานกับบริษัทจะเกิดการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติงานจริง และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วมีโอกาสจะได้ร่วมงานกับบริษัท โดยที่นักเรียนกลุ่มนี้จะได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. ทั่วไป ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมยกระดับระบบการศึกษาระดับอาชีวะศึกษาให้เป็นที่ยอมรับและเป็นแนวทางในการผลิตบุคลากรระดับเทคนิคให้มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

        2. การส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (ขับเคลื่อนการดำเนินงานของ สอว. และอุทยานฯ ภูมิภาค) สำนักงานฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปตามแผน แนวทางและหลักเกณฑ์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ที่คณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) กำหนดไว้

        3. โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ขับเคลื่อนการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล) สำนักงานฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

        4. การพัฒนากำลังคนด้านการออกแบบเพื่อการผลิตและนวัตกรรม (นำร่องการดำเนินการร่วมรัฐ-เอกชน-มหาวิทยาลัย ในการพัฒนากำลังคนระดับสูงและการสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหาร และการฝึกอบรม industrial design

        5. ขับเคลื่อนความร่วมมือด้าน วทน. ในระดับอาเซียน (การขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่) โดย สวทน. ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาเซียน (Advisory Body on the ASEAN Plan of Action on Science and Technology หรือ ABAPAST) ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology หรือ ASEAN COST) ให้ร่วมกับประธาน ABAPAST และสำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่และการจัดทำแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของอาเซียนฉบับต่อไป โดย สวทน. ได้ดำเนินการจัดทำข้อเสนอดังกล่าวและนำเสนอต่อที่ประชุม ASEAN COST ครั้งที่ 63 ณ นครเนปิดอร์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เมื่อวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2555 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่และการจัดทำแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของอาเซียนฉบับต่อไปตามที่เสนอ และให้จัดการประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกับผู้แทน ASEAN COST จากประเทศสมาชิกทุกประเทศ และคณะอนุกรรมการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาเซียนทั้ง 9 คณะ หาข้อตกลงรายละเอียดการจัดทำแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของอาเซียนฉบับต่อไป และนำเสนอต่อที่ประชุม ASEAN COST ครั้งที่ 64 ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม

        6. การขับเคลื่อนแผน วทน. /ยาง โดยสำนักงานฯ จัดทำข้อเสนอโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ภายใต้แผนและนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 - 2564) เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและแผนฯ

        7. การขับเคลื่อนแผน วทน. /ระบบราง” โดนสำนักงานฯ จัดทำข้อเสนอโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ภายใต้แผนและนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 - 2564) เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและแผนฯ

        8. โครงการจัดการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยียางล้อผ่านโรงเรียนไซเบอร์ยางล้อ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยที่เข้าร่วมโครงการดังนี้

          - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
          - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
          - มหาวิทยาลัยมหิดล
          - ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

        9. โครงการจัดทำระบบการพัฒนาบุคลากรระดับสูงผ่านเครือข่ายเชี่ยวชาญด้านการออกแบบเพื่อการผลิตและนวัตกรรม (นำร่อง 2 โครงการ) คือ 1) การสร้างเครือข่ายและพัฒนาบุคลากรด้านการออกแบบเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมอาหารเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหาร2) การพัฒนาเครื่องจักรและเตาอบในกระบวนการผลิตแผ่นยางพารา” โดยสำนักงานฯ  ประสานกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ iTAP ในการจัดทำหลักสูตรการออกแบบเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมอาหารเพื่อจัดฝึกอบรมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้อย่างน้อย 20 ราย ระยะเวลาการฝึกอบรมไม่ร้อยกว่า 6 วัน แล้วเสร็จ 3 Module จากทั้งหมด 5 Module และจัดทำข้อเสนอโครงการการพัฒนาเครื่องจักรและเตาอบในกระบวนการผลิตแผ่นยางพาราเพื่อจัดทำ Outline หลักสูตรในการจัดฝึกอบรมผู้ที่สนใจ

การบรรลุผลในการขับเคลื่อนนโยบาย มาตรการ ที่ต้องใช้ความพยายามระดับปานกลาง ปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียในวงจำกัด และสร้างผลกระทบที่เฉพาะเจาะจง ดำเนินการได้ 4 เรื่อง

        1. แผนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มขีดความสามารถ ความยืดหยุ่นและนวัตกรรมในภาคเกษตร ผลิตและบริการด้วย วทน. ซึ่งประกอบด้วย

          - สาขาข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว
          - สาขายางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา
          - สาขามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์
          - สาขาอ้อยและผลิตภัณฑ์จากอ้อย
          - สาขาปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์
          - สาขาแฟชั่น/สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
          - สาขาแฟชั่น/อัญมณี
          - สาขาอาหารแปรรูป (กลุ่มเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ)

        2. โครงการฟื้นฟูแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำและบูรณะชายฝั่งทะเลจังหวัดสงขลา” โดยสำนักงานฯ ดำเนินการร่วมกับที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการผลักดันนโยบายและแผน วทน. แห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2564) ไปสู่การปฏิบัติรายพื้นที่ ในพื้นที่ภาคใต้ และนำเสนอโครงการดังกล่าวต่อคณะทำงานแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเล จ.สงขลา รวมถึงการนำเสนอบทสรุปต่อคณะอนุกรรมการจัดทำและทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา (พ.ศ. 2557 - 2560) และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อพิจารณาบรรจุแผนงานโครงการดังกล่าวในแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา นอกจากนี้ สำนักงานฯ เตรียมนำเสนอบทวิเคราะห์โครงการ พร้อมความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ต่อ กวทน. และอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อขอความเห็นชอบและพิจารณาสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับจังหวัดสงขลา ต่อไป  

        3. การขับเคลื่อนความร่วมมือด้าน วทน. ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยสำนักงานฯ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ สปป. ลาว จัดทำกรอบความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างประเทศไทยและ สปป. ลาว ตามกรอบความร่วมมือข้อริเริ่มกระบี่ของอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความร่วมมือด้านนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2) ความร่วมมือทาง วทน. ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 3) ความร่วมมือทาง วทน. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร 4) ความร่วมมือด้านการศึกษาและการสร้างความตระหนักทาง วทน. 5) ความร่วมมือทาง วทน. ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนการประชุม

        4. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Design) เพื่อมุ่งสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community: AEC) สำนักงานฯ ดำเนินการประชุมร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) และ มจพ. เพื่อเตรียมการในการจัดฝึกอบรมฯ ผู้ประกอบการ SMEs และ UBI อย่างน้อย 200 รายและทำการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 10 วัน

ข้อเสนอที่เป็นนโยบาย แผนระดับชาติ แผนรายสาขาอุตสาหกรรม/เทคโนโลยี แผนรายพื้นที่ แผนการปรับโครงสร้างเชิงระบบด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือกลุ่มมาตรการเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะระดับประเทศ ดำเนินการได้ 7 เรื่อง

        1. การดำเนินงานของประเทศไทยเพื่อเตรียมรับกับการดำเนินงานก้าวต่อไปของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพิธีสารเกียวโต” ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554

        2. ความริเริ่มกระบี่ 2553 หรือ Krabi Initiative 2010” แนวทางการสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับการก่อตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี พ.ศ. 2558 ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554

        3. แนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยในประเด็น Technology Development and Transfer จากข้อสรุปผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 16 (COP 16) ได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554

        4. ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554

        5. กรอบงบประมาณการลงทุนของประเทศไทยในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11” ได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการการจัดทำยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ด้านเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554

        6. ระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้รับความเห็นชอบจากการประชุมคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2554 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2554

        7. ข้อเสนอแนะนโยบายโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2556-2560) ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554

        ข้อเสนอที่เป็นมาตรการเฉพาะอย่าง หรือแนวคิดแผนงาน/โครงการขนาดใหญ่ที่เป็นเรื่องเฉพาะเพื่อหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับเป็นเจ้าภาพไปดำเนินการต่อ ดำเนินการได้ 3 เรื่อง

        1. การส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นข้อเสนอจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จัดทำโดยสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554

        2. ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Centre of Excellence)”สำนักงานฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดทำแนวทางจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ ระยะที่ 3 (2555-2559) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 และได้รับความเห็นชอบในหลักการสำหรับการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 9 ศูนย์ ตามข้อเสนอโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศ ระยะที่ 3 ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) จากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554

        3. ข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรม และการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมในการพัฒนาภาคการศึกษา ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2554

        การขับเคลื่อนนโยบาย มาตรการ ที่ต้องใช้ความพยายามสูง มีความยาก ปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียในเชิงลึกและมีจำนวนมาก และกระทบในวงกว้าง ดำเนินการได้ 3 เรื่อง

        1. แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง สำนักงานฯ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงคมนาคม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อผลักดันการจัดตั้งสถาบันพัฒนาระบบขนส่งทางรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องของประเทศไทย ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรมรับเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการภายใต้โครงการฯ

        2. แผนปฏิบัติการการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสนับสนุน การพัฒนาในสาขาการผลิตหลักของประเทศ ปี 2555-2559 สำนักงานฯ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานด้านการวิจัยของประเทศ ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการโดยกำหนดสาขาการผลิตที่จะใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสนับสนุนการพัฒนาในภาคเกษตร ผลิตและบริการ ปี 2555-2559 และพิจารณาการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนา 7 สินค้าหลักของประเทศ

        3. การจัดทำกรอบงบประมาณวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานของประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2554” สำนักงานฯ ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดหารายได้เข้าประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินการศึกษาเรื่องภาวะโลกร้อนและพลังงานทางเลือก ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ พ.ศ. 2555-2559 เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์แนวทางการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงาน รวมถึงกรอบงบประมาณวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานของประเทศไทย ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จะเป็นเจ้าภาพหลักในการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการพิจารณากำหนดเป้าหมายและกลุ่มงานที่ต้องปฏิบัติงานวิจัย และกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ ที่บูรณาการกันตลอดห่วงโซ่มูลค่า และเสนอขอ กรอบงบประมาณประจำปีด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย ต่อสำนักงบประมาณ

        จำนวนข้อเสนอนโยบาย แผน และมาตรการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ/อนุกรรมการระดับชาติ หรือได้รับการผลักดันสู่การปฏิบัติ ดำเนินการได้ 10 เรื่อง
        1. แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553
        2. แผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยี (Nanotec TRM) ได้รับการผลักดันไปสู่การปฏิบัติ โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2552
        3. การขยายจำนวนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ไปสู่ภูมิภาค ได้รับการผลักดันไปสู่การปฏิบัติ โดยคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2552
        4. แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เพื่อการพัฒนาประเทศ ได้รับการผลักดันไปสู่การปฏิบัติ โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2553
        5. ร่างนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2564) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (กวทน.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553
        6. มาตรการยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (กวทน.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553
        7. มาตรการปรับปรุงการส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน โดยให้สิทธิประโยชน์ในการหักภาษีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (กวทน.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553
        8. มาตรการส่งเสริมการตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Centers) ในภาคอุตสาหกรรม ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (กวทน.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553
        9. มาตรการเขตนวัตกรรม (Innovation Districts) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (กวทน.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553
        10. มาตรการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับบัณฑิตศึกษาตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Industrial M.Sc./Ph.D.)” ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (กวทน.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553
ผลงานข้อเสนอนโยบาย

ในปีงบประมาณ 2552 สวทน. สามารถส่งมอบผลการดำเนินงานเชิงปริมาณ ได้เป็นไปตามเป้าหมายร้อยละ 100 คือ สามารถส่งมอบผลงานข้อเสนอนโยบาย แผน กฎหมาย และมาตรการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับประเทศ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการ หรือ คณะอนุกรรมการระดับชาติ จำนวนทั้งสิ้น 12 เรื่อง จากแผนงานที่ 1 จำนวน 11 เรื่อง และแผนงานที่ 2 จำนวน 1 เรื่อง สรุปได้ดังนี้

แผนงานที่ 1: การจัดทำ ประสานและผลักดันนโยบาย แผนและมาตรการต่าง ๆ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 11 เรื่อง คือ
  • ข้อเสนอนโยบายการจัดทำโครงร่างนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (กวทน.) ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2552
  • มาตรการยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (กวทน.) ครั้งที่ 1/2552เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม2552
  • แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ สาขาสาขาโลจิสติกส์ : พัฒนาและส่งเสริมการนำระบบ ERP ที่ผนวกรวมเทคโนโลยี GPS, RFID เพื่อลดต้นทุนการบริหารจัดการในภาคอุตสาหกรรม และพัฒนาคนเพื่อลดต้นทุนการจัดการและเชื่อมโยงข้อมูลในห่วงโซ่อุปทาน ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552
  • แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ สาขาน้ำ พลังงาน สิ่งแวดล้อม :จัดตั้งและบูรณาการฐานข้อมูลและความรู้ของประเทศด้านสภาพภูมิอากาศ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของภาคอุตสาหกรรม ติดตั้งระบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์นำร่องทั่วประเทศ ขยายผลการจัดการทรัพยากรชีวภาพชายฝั่งอย่างยั่งยืน ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552
  • แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ สาขาอาหาร : เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตผ่านการสร้างเครือข่าย สนับสนุนเกษตรอินทรีย์บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาวิธีการปลูกข้าวเพื่อกำหนดมาตรฐานทางการค้าโลก ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552
  • แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ สาขาปิโตรเคมี : เสริมสร้างความเข้มแข็งของห้องปฏิบัติการ พัฒนาทักษะวิศวกรรมของบุคลากรด้านปิโตรเคมี ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6พฤษภาคม 2552
  • แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ สาขายาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม : พัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตทางชีวภาพระดับโรงงานต้นแบบเพื่อผลิตโปรตีนที่ใช้ในการรักษาโรค วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีของเครือข่ายศูนย์เก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์สู่ภาคเอกชน ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552
  • แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ : สร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ สร้างคลัสเตอร์พัฒนาสมรรถนะบุคลากร สร้างศูนย์ข้อมูลกลางและหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีฐาน ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552
  • แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ สาขาชิ้นส่วนยานยนต์ : พัฒนาเทคโนโลยีส่วนฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน พัฒนาเครือข่ายวิเคราะห์ ตรวจสอบและให้คำปรึกษา พัฒนาทักษะวิศวกรรมของบุคลากรด้านยานยนต์และชิ้นส่วน ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552
  • ข้อเสนอนโยบายการสร้างเครือข่ายศึกษาและวิจัยนานาชาติในสาขาที่ประเทศไทยมีสมรรถภาพ ได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552
  • ข้อเสนอนโยบายการขยายจำนวนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ 4 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี วิทยาลัยเทคนิคพังงา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน และวิทยาลัยการอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552

แผนงานที่ 2: การจัดทำดัชนีและการศึกษาวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 1 เรื่อง คือ
  • แผนที่นำทางด้านนาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology Roadmap)ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552