สวทน. ร่วมรับ 3 โครงการใหญ่ ขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปี 2561

10 มกราคม 2561  


จากการประชุมการตรวจติดตามการดำเนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของรองนายกรัฐมนตรี (ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการหารือ และนำเสนอแผนงานโครงการภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปี 2561 ต่อรองนายกรัฐมนตรี หลายมิติเพื่อตอบโจทย์ 3 ยุทธศาสตร์หลักของกระทรวง คือ การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 การลดความเหลื่อมล้ำ และการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ
 
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เปิดเผยว่า จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา สวทน. ได้ดำเนินงานในหลายด้าน ซึ่งด้านหนึ่งที่ประสบความสำเร็จและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมคือ โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ ฟู๊ดอินโนโพลิส โดยปัจจุบันมีบริษัทเอกชนจากไทยและต่างประเทศเข้ามาตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในเมืองนวัตกรรมอาหาร จำนวน 36 บริษัท ซึ่งโดยสิ่งที่ดึงดูดให้บริษัทเข้ามาตั้งศูนย์วิจัยฯ คือ การมีบริษัทชั้นนำด้านอาหารเข้ามาใช้บริการ และการบริการเชื่อมโยงบุคลากรวิจัยจากมหาวิทยาลัยให้กับภาคเอกชนมีบริษัทเอกชนเข้ามาจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร รวมประมาณ 34 บริษัท โดยเป็นทั้งบริษัทไทยและบริษัทจากต่างประเทศ ทั้งเป้าหมายในการขยายโครงการในปี 2561 และการสนับสนุนให้ SMEs ทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ผ่านการตั้ง Future Food Lab ที่มีการเตรียมพื้นที่รองรับกิจกรรมวิจัยพัฒนาด้านนวัตกรรมอาหารของ SMEs จัดช่องทางให้ได้เข้าถึงนักวิจัย Research Coach และเตรียมคลังข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและบรรจุภัณฑ์ โดยสิ่งที่ดึงดูดให้บริษัทเอกชนเข้ามาตั้งศูนย์วิจัยในเมืองนวัตกรรมอาหารที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันรวม 36 บริษัท คือ การมีบริษัทด้านอาหารชั้นนำเข้ามาใช้บริการ และการบริการเชื่อมโยงบุคลากรวิจัยจากมหาวิทยาลัยให้กับภาคเอกชนทั้งเป้าหมายในการขยายโครงการในปี 2561 และการสนับสนุนให้ SMEs ทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ผ่านการตั้ง Future Food Lab ที่มีการเตรียมพื้นที่รองรับกิจกรรมวิจัยพัฒนาด้านนวัตกรรมอาหารของ SMEs จัดช่องทางให้ได้เข้าถึงนักวิจัย Research Coach และเตรียมคลังข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและบรรจุภัณฑ์ โดยสิ่งที่ดึงดูดให้บริษัทเอกชนเข้ามาตั้งศูนย์วิจัยในเมืองนวัตกรรมอาหารที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันรวม 36 บริษัท คือ การมีบริษัทด้านอาหารชั้นนำเข้ามาใช้บริการ และการบริการเชื่อมโยงบุคลากรวิจัยจากมหาวิทยาลัยให้กับภาคเอกชนทั้งนี้ ภายในการประชุม สวทน. ได้รายงานความคืบหน้า "โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)" ทั้งเป้าหมายในการขยายโครงการในปี 2561 และการสนับสนุนให้ SMEs ทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ผ่านการตั้ง Future Food Lab ที่มีการเตรียมพื้นที่รองรับกิจกรรมวิจัยพัฒนาด้านนวัตกรรมอาหารของ SMEs จัดช่องทางให้ได้เข้าถึงนักวิจัย Research Coach และเตรียมคลังข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและบรรจุภัณฑ์ โดยสิ่งที่ดึงดูดให้บริษัทเอกชนเข้ามาตั้งศูนย์วิจัยในเมืองนวัตกรรมอาหารที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันรวม 36 บริษัท คือ การมีบริษัทด้านอาหารชั้นนำเข้ามาใช้บริการ และการบริการเชื่อมโยงบุคลากรวิจัยจากมหาวิทยาลัยให้กับภาคเอกชนทั้งนี้ โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร มีเป้าหมายในการขยายโครงการในปี 2561 และการสนับสนุนให้ SMEs ทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ผ่านการตั้ง Future Food Lab ที่มีการเตรียมพื้นที่รองรับกิจกรรมวิจัยพัฒนาด้านนวัตกรรมอาหารของ SMEs จัดช่องทางให้ได้เข้าถึงนักวิจัย Research Coach และเตรียมคลังข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและบรรจุภัณฑ์ 
 

“ในปี 2561 นี้ นอกจากโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร ที่ยังต้องเดินหน้าขยายผลต่อเนื่องแล้ว สวทน. ยังมีแผนร่วมขับเคลื่อนแผนงานสำคัญของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 เรื่อง ที่ตอบโจทย์การลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามยุทธศาสตร์ของกระทรวง คือ 1. โครงการ Tech-based startups & Talent Mobility ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อยอดผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีผ่านเครือข่ายอุทยาน และ Talent Mobility เพื่อยกระดับศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน และธุรกิจประกอบการท้องถิ่น (OTOP) ผ่านอุทยานวิทยาศาสตร์และเครือข่ายใน 6 ภูมิภาค โดยโครงการดังกล่าวจะช่วยตอบโจทย์ในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง Innovation Hubs อุทยานวิทยาศาสตร์ กับหน่วยงานเครือข่าย Talent Mobility ช่วยในด้านการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่ พร้อมทั้งขยายเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในอุทยานวิทยาศาสตร์ Innovation Hubs และหน่วยงานเครือข่าย Talent Mobility นอกจากนี้ยังช่วยในการบ่มเพาะและยกระดับศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงเชื่อมโยงทรัพยากรวิจัยของอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย Innovation Hubs แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน และธุรกิจประกอบการท้องถิ่น (OTOP) ในระดับภูมิภาค กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ในสาขาวัสดุศาสตร์ กลุ่มดิจิทัล กลุ่มเทคโนโลยีการแพทย์ กลุ่มพลังงาน สาขาสิ่งแวดล้อม สาขาชีววิทยาและสมุนไพร โดย      สวทน. จะรับผิดชอบในส่วนของการส่งเสริมการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงจากผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ (Cross border Talent) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สวทน. 2. โครงการศูนย์วิจัยและทดสอบอาหารนวัตกรรมครบวงจรอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ โดยความร่วมมือระหว่าง สป. สนช. และสวทน. ซึ่งการตั้งศูนย์วิจัยดังกล่าวจะสามารถสร้างการจ้างงานในอุตสาหกรรมอาหารในภาคเหนือตอนบน 1 ไม่น้อยกว่า 1,600 คน จาก SMEs และ Startup เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารจากการใช้บริการศูนย์บริการนวัตกรรมอาหารไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (มูลค่า 2,100 ล้านบาท) รวมถึงช่วยสร้างโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการในการเข้าถึงเครื่องมือในกระบวนการแปรรูปอาหารที่ทันสมัยที่สนับสนุนโดยภาครัฐมากกว่า 50 รายในปีแรก และไม่น้อยกว่า 700 ราย ภายใน 5 ปี โดย สวทน. ร่วมสนับสนุนผ่านทางโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร และ 3. โครงการธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ วิจัย และใช้ประโยชน์ National biobank for conservation, research and utilization ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ สวทน. ในการดำเนินโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 โครงการข้างต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,181 ล้านบาท”