กรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย (พ.ศ.2555-2564)

เมื่อเทคโนโลยีชีวภาพได้ก้าวสู่ยุคจีโนมและหลังจีโนม เป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยูของประชากรโลกไม่
ยิ่งหย่อนไปกว่าการปฏิวัติเทคโนโลยี 3 ยุคที่ผ่านมา นอกจากบทบาทของเทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์แล้ว ยังมีบทบาทที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุตสาหกรรม จากอุตสาหกรรมเคมี (Chemical-based Industry) เป็นอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Bio-based Industry) เพื่อเพิ่มผลผลิตและ/หรือมีคุณสมบัติพิเศษได้ในระยะเวลาอันสั้น ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้กระบวนการผลิตที่ลดความซับซ้อนภายในกระบวนการเดียว ปัจจุบันประเทศต่างๆ มีการลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้จัดทำกรอบนโยบายมุ่งหวังให้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความมั่นคงทั้งในด้านพลังงาน อาหาร และสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

เป้าหมายของกรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพฯ
  1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในสาขาที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบหรือมีศักยภาพสูง รวมถึงขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
  2. ยกระดับรายได้ของประชาชน โดยการสร้างงานในพื้นที่เพื่อนำไปสู่การลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้อย่างยั่งยืน
  3. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเน้นให้ชุมชนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีชีวิตอยู่ในสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพที่แข็งแรง มีความรู้สำหรับเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง
  4. มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเป็นกระบวนการที่ไม่ส่งผลกระทบหรือทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ยังต้องมีส่วนในการดูแลสิ่งแวดล้อมหรือการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์
  5. สร้างความมั่นคงของประเทศ โดยผลิตสินค้าหรือบริการพื้นฐานที่จำเป็นได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะด้านพลังงานและด้านสุขภาพ

สาระสำคัญของกรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพฯ
image