STI Brown Bag Seminar ครั้งที่ 1 : Interfacing engineering and biology : a way to link fundamental research and translational development?

26 กรกฎาคม 2561  




สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จัดกิจกรรม STI Brown Bag Seminar ครั้งที่ 1 : Interfacing engineering and biology : a way to link fundamental research and translational development? ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชั้น 14 อาคารจัตุรัสจามจุรี ทั้งนี้ ในงานดังกล่าวได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2560 เจ้าของผลงาน บูรณาการศาสตร์หลากสาขา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพันธุศาสตร์อย่างยั่งยืน มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดทำนโยบายและการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ รวมถึงนักวิชาการภาคการศึกษา และภาคเอกชนที่มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานชีวภาพ มาร่วมรับฟังอย่างคับคั่ง และยังได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมรับฟังด้วย




อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น Platform ในการสร้างให้เกิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัย และผู้สร้างสรรค์นโยบาย ทั้งนี้ วิทยากรได้แลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมรับฟังในหลายประเด็น รวมถึงวิธีการทำงานของด้านการวิจัยของตนเองว่า ตนทำงานในรูปแบบการรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ที่มีความหลากหลายด้านศาสตร์การเรียน แต่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมาทำงานร่วมกัน ซึ่งการทำงานรูปแบบนี้ เชื่อว่าจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการ Project ใหญ่ๆ ของสังคมได้มากกว่าการทำงานเพียงลำพัง โดยเห็นว่าการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัยที่สำคัญในอนาคตประกอบด้วย 2 ส่วนที่ คือ 1. การทำงานร่วมกันของหลายๆ ศาสตร์ เพราะปัจจุบันหลายปัญหาที่จะแก้ไขใหญ่กว่าการทำงานแบบเพียงลำพัง 2.การที่เราจะไปสู่อนาคตแบบยั่งยืนและมั่นคงได้นั้น ต้องมีพื้นฐานที่ดีและมีความจำเป็นมาก ที่นักวิจัยต้องมองไปถึงตัวผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ถ้าข้ามเร็วเกินไปโดยที่ไม่มี Platform ที่ดีจะมีความเสี่ยงพอสมควร เพราะฉะนั้นการมี Fundamental Knowledge และมี Infrastructure ที่เหมาะสมและเพียงพอจะทำให้เราก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงมากขึ้น




สำหรับโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะสามารถต่อยอดการนำเรื่องเทคโนโลยีชีววิทยามาใช้ในการประกอบธุรกิจนั้น วิทยากรได้แลกเปลี่ยนมุมมองที่น่าสนใจว่า ความต้องการข้อมูลด้านชีววิทยายังมีอยู่มาก และประเทศไทยก็มีข้อมูลในส่วนนี้อยู่เยอะ การทำธุรกิจด้านการวิเคราะห์ข้อมูลชีววิทยาจึงเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งความท้าทายของประเทศไทยก็คือ การจัดการและการวิเคราะห์ Big Data ทางชีววิทยา  และการหาบุคลากรเพื่อตอบโจทย์เรื่องดังกล่าว








ทั้งนี้ เนื้อหาจากกิจกรรม STI Brown Bag Seminar ครั้งที่ 1 : Interfacing engineering and biology : a way to link fundamental research and translational development? ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยท่านสามารถติดตามรายละเอียด Slide ประกอบการบรรยายของ ผศ.ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ ได้ที่  : http://www.sti.or.th/sti/uploads/com_docman_pdf/120_TH.pdf
 
หรือรับชมคลิปย้อนหลัง Facebook live ได้ที่ : https://www.facebook.com/STIThailandofficial/videos/1006525589528941/